โอกาสดี! ทำฟันฟรีที่คลินิกเอกชน 1,248 แห่ง ร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่

Advertisement ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท ได้ให้ความสำคัญต่อบริการทันตกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับคนไทยทุกคนโดยครอบคลุมทั้งบริการป้องกัน การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพในช่องปากให้กับทุกกลุ่มวัย Advertisement ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการรับบริการทันตกรรมปีงบประมาณ 2566 เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562-2565 พบว่า ปีงบประมาณ 2562 อยู่ที่อันดับ 8 จำนวนรับบริการ 4,143,581 ครั้ง ปีงบประมาณ 2563 อยู่ที่อันดับ 7 จำนวนรับบริการ 4,393,278 ครั้ง ปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่อันดับ 9 จำนวนรับบริการ 2,722,699 ครั้ง ปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่อันดับ 9 จำนวนรับบริการ 2,223,090 ครั้ง ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปี คือปีงบประมาณ […]

กมธ.สาธารณสุข ศึกษาความต่าง “บัตรทอง-ประกันสังคม”

10 ต.ค. 2567 ที่อาคารรัฐสภา  นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร(สส.) พร้อมด้วย น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ร่วมแถลงข่าว เรื่อง พิจารณาแนวทางความเหลื่อมล้ำกรณีสิทธิการรักษาพยาบาล ระหว่างกองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการประกันสังคม ในส่วนผู้ใช้แรงงาน ตัวแทนสํานักงานประกันสังคม และสํานักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมให้ข้อมูล  แต่ระดับผู้บริหารของสำนักประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ไม่ได้เข้าร่วมครั้งนี้ น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า วันนี้ กมธ.การสาธารณสุขได้จัดประชุมพิจารณา วาระการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างมาตรฐานบริการสุขภาพระหว่างกองทุนประกันสังคม และ สปสช. โดยจากการพิจารณาในชั้นกมธ.มีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้ คือ ประกันสังคมและสิทธิหลักการสุขภาพแห่งชาติหรือที่รู้จักกันในนาม “บัตรทอง” นั้นยังไม่ได้จัดบริการการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่าง กรณีของผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมสมทบจ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้รับคุณภาพการรักษาที่ยังด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง เปิด 3 ประเด็น บัตรทอง ดีกว่า ประกันสังคม โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ 1. การเข้าถึงบริการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพหรือที่เรียกว่า PP จุดนี้สปสช.ให้การคัดกรองที่ดีกว่า ผู้ใช้สิทธิบัตรทองสามารถใช้บริการสุขภาพปฐมภูมิ […]

สปสช. สิทธิบัตรทองอยู่ที่ไหน ยื่นบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่

บัตรประชาชนใบเดียว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช สำหรับผู้ถือสิทธิบัตรทองอยู่ที่ไหน สามารถยื่นบัตรประชาชนใบเดียวได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย และ ยังสามารถใช้บริการได้ทั่วประเทศ ล่าสุด สปสช. หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ขยายบัตรประชาชนใบเดียวเฟส 2 เพิ่มขึ้นอีก 8 จังหวัด ดังนี้ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ พังงา บัตรประชาชนใบเดียว สปสช. ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง ใช้บริการได้ทั่วประเทศ ดังนี้ 1. ร้านยา ผู้มีสิทธิบัตรทองยื่นบัตรประชาชนใบเดียว รับบริการปรึกษาเภสัชกรและรับยาในอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการได้ที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ทั่วประเทศ ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสังเกตสติกเกอร์ “ร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย” นอกจากนี้ คนไทยทุกสิทธิการรักษา (ยื่นบัตรประชาชนใบเดียว) สามารถใช้สิทธิรับ ยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิกป้องกันโลหิตจาง ตรวจคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต โดยสังเกตสติกเกอร์ “ร้านยาของฉัน ให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ” 2.คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ผู้มีสิทธิบัตรทอง ยื่นบัตรประชาชนใบเดียว รับบริการ ทำแผล […]

“บัตรทอง” ให้สิทธิกายภาพบำบัดฟรี “4กลุ่มโรค 58รพ.” เช็กรายละเอียดสิทธิเลย!

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่ระหว่างการดำเนินแนวทางต่างๆ เพื่อสนับสนุนการลดความแออัดของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาล ซึ่งรวมถึงการขยายเครือข่ายคลินิกกายภาพบำบัดที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง” เพื่อรับผู้ป่วยสิทธิบัตรทองใน 4 กลุ่มโรค เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการกายภาพ ณ คลินิกใกล้บ้าน ไม่ต้องรอคิวนาน และลดความแออัดในโรงพยาบาล ขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างการขยายเครือข่ายคลินิกกายภาพบำบัดที่เข้ามาร่วมหน่วยบริการในระบบ “บัตรทอง” โดยได้เชิญชวนคลินิกกายภาพฯ ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 800 แห่งทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13 และให้โรงพยาบาลในระบบ สปสช. ประสานคลินิกกายภาพฯ ในพื้นที่มาเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาล ทั้งนี้ สปสช. ได้เริ่มอำนวยความสะดวกในการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ แก่ผู้ป่วยสิทธิ “บัตรทอง” 4 กลุ่มโรค ได้แก่ 1.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 2.ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) 3.ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บที่ได้รับการรักษาจนเข้าสู่ภาวะคงที่ และ 4.ผู้ป่วยภาวะกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง (Fragility fracture hip ) มาตั้งแต่ปี 64 โดยระยะแรกมีคลินิกที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนำร่อง 24 […]

เปิดวิธีรับยาคุมกำเนิด ฟรี! ทั้งแบบผ่านแอปเป๋าตัง และแบบใช้บัตร ปชช.

ก่อนหน้านี้ในปี 2565 สปสช. ได้เปิดบริการแจก ยาคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย ฟรี! เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาเม็ดคุมกำเนิดให้ประชากรวัยเจริญพันธุ์ด้วยการดำเนินการเชิงรุก ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี มาในปี 2566 นี้ สปสช. ออกมาย้ำเตือนบริการนี้อีกครั้ง พร้อมเผยขั้นตอนการจอง และเข้ารับยาฟรีง่ายๆ จะมีสมาร์ตโฟน (ผ่านแอป เป๋าตัง) หรือไม่มีสมาร์ตโฟน (ใช้บัตรประชาชน) ก็เข้ารับ ‘ยาคุมกำเนิด’ ฟรีได้เหมือนกัน แจกฟรี “ยาคุมกำเนิด” บริการเชิกรุกที่คนไทยได้รับ มีรายงานว่า หน่วยบริการคุมกำเนิด กองทุนบัตรทอง ดำเนินงานดูแลผู้ใช้สิทธิบัตรทองกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ต่อเนื่องในปี 2566 เพิ่มความสะดวกให้ประชาชนไทยเข้าถึง “ยาเม็ดคุมกำเนิด” ที่หน่วยบริการใกล้บ้าน ผ่านแอป เป๋าตัง พร้อมให้บริการคุมกำเนิดครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นบริการใส่ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด และยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาท้องไม่พร้อม บริการยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง 30 บาท” ภายใต้บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ซึ่งเป็นบริการคุมกำเนิดชั่วคราวเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย มีความปลอดภัย และป้องกันได้อย่างประสิทธิภาพ ยาคุมกำเนิดฟรี […]

หมอรักษาผิดพลาด ผู้ป่วยขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทองได้ เช็กขั้นตอนได้ตามนี้

ผู้มีสิทธิ “บัตรทอง” (บัตรทอง 30 บาท) หากใช้สิทธิรักษาแล้วได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลซึ่งไม่ใช่เป็นพยาธิสภาพของโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค มีสิทธิ “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” เบื้องต้นได้ ตามมาตรา 41 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ที่ไม่ใช่พยาธิสภาพของโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” ไม่ใช่เงินชดเชย แต่คือ การบรรเทาความเดือดร้อน ลดความขัดแย้ง ไม่พิสูจน์ถูกผิด “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” ประเภทอัตราการช่วยเหลือเบื้องต้น  ประเภทที่ 1 เสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร (240,000-400,000) ประเภทที่ 2 พิการหรือสูญเสียอวัยวะ (100,000-240,000) ประเภทที่ 3 บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง (ไม่เกิน 100,000 บาท ใครยื่นคำร้อง “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” ได้บ้าง  ระเบียบระบุไว้ว่า คนที่สามารถขอรับเงินจะต้องเป็นคนที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริหาร โดยมีระยะเวลา ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย เขียนคำร้อง “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” อย่างไรบ้าง  1.ชื่อ-นามสกุล ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย 2.ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล 3.ชื่อของหน่วยบริการที่ให้การรักษาพยาบาล 4.วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล […]

ผ่าตัดเปลี่ยนชีวิต! คนไข้ข้อสะโพกเสื่อมนาน15ปี ใช้บัตรทองได้สะโพกเทียมแล้ว

9 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.ประจวบคีรีขันธ์ โพสต์ภาพพร้อมข้อความลงเพจ “Arak Wongworachat” ระบุว่า “หลังผ่าตัดชีวิตเปลี่ยน” ข้อสะโพกเสื่อมจากอุบัติเหตุ ผ่าตัดเปลี่ยนใส่ข้อสะโพกเทียม บัตรทอง ตัวอย่างผู้ป่วยอายุ 67 ปี เคยประสบอุบัติเหตุเมื่อ 15 ปีก่อน ไม่ได้เข้ารักษาอย่างถูกวิธี จนเป็นเหตุให้มีอาการปวดเรื้อรัง กระทบต่อการประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเสาหลักของครอบครัว ไปพบแพทย์ที่คลินิก ให้ยาต้านการอักเสบลดปวด พอบรรเทา จึงแนะนำเข้าโรงพยาบาล เพื่อผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ผู้ป่วยกลัวการผ่าตัดและกังวลค่าใช้จ่ายหลักแสน สิทธิบัตรทอง โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ส่งทีมให้คำปรึกษาเพิ่มความเชื่อมั่น และยืนยันไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูก ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ใส่ข้อเทียม หลังผ่าตัด 3 วัน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ แนะนำฝึกเดิน กายภาพบำบัด จนสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ผู้ป่วย ครอบครัว ดีใจมาก ขอบคุณทีมแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ บอกว่ารู้อย่างนี้ รักษาผ่าตัดก่อนหน้านี้แล้ว ทรมานมานาน […]

เริ่มแล้ว! ผู้ป่วยบัตรทองรับยาได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้าน ไม่ต้องไปถึง รพ.

วันนี้ ผู้ป่วยถือสิทธิบัตรทอง สามารถไปรับยาได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้าน ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาไปรอคอยที่โรงพยาบาล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิดโครงการ OPD Anywhere คือ ให้ผู้ป่วย OPD หรือ ผู้ป่วยนอก ไปรับยาในจุดบริการที่ไหนก็ได้ ซึ่งปกติแล้วประชาชนที่ป่วย จะต้องเข้าไปรักษาในคลินิก หรือสถานพยาบาลที่เข้าร่วมสิทธิบัตรทอง โดยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สปสช. จะขยายบริการให้ ในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อย ให้สามารถรับยาได้ที่ร้านขายยา โดยใช้สิทธิบัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสะดวก และรวดเร็วมากขึ้น แต่ถ้าหากเภสัชกรประเมินอาการว่าเจ็บป่วยมาก ก็จะมีกระบวนการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ สำหรับข้อดีของ โครงการ OPD Anywhere คือ ร้านขายยาเข้าถึงและใกล้ชิดประชาชน และชุมชนได้มากที่สุด ตอนนี้ร้านขายยาที่เข้าร่วมเป็นร้านยาคุณภาพ มีกว่า 1,000 กว่าร้านทั่วประเทศ โครงการนี้จะเข้ามาช่วยลดเวลาในการรอคอย ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล และยาที่ผู้ป่วยได้รับ จะเป็นยาที่ตรงตามอาการ ที่สำคัญผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม   ข่าวจาก : เช้าข่าว 7 สี

สปสช.ยืนยัน เหยื่อเพลิงไหม้ผับ ใช้สิทธิบัตรทองรักษาฟรีทุกราย

16 สิงหาคม ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากกรณีเหตุการณ์เพลิงไหม้ผับเมาน์เท่น บี (Mountain B) ใน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ขณะนี้มีผู้บาดเจ็บที่ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล (รพ.) จำนวน 26 ราย ในจำนวนนี้ใส่เครื่องช่วยหายใจ 9 ราย โดยมีการส่งต่อไปรับการรักษาที่ รพ.ต่างๆ ทั้งใน จ.ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร นั้น ในส่วนของการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลนั้น ในช่วงแรกที่เกิดเหตุ ซึ่งผู้บาดเจ็บอยู่ในอาการฉุกเฉินวิกฤตต้องนำส่งเข้า รพ.ที่ใกล้ที่สุด จะเป็นการดูแลตามนโยบายฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือยูเซ็ป (UCEP) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หลังจากพ้น 72 ชั่วโมงแล้ว ก็จะมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษายัง รพ.ที่ผู้ป่วยมีสิทธิการรักษาอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการทยอยส่งต่อผู้ป่วยไปยัง รพ.ตามสิทธิแล้ว โดยทีมแพทย์ของ รพ.ต่างๆ ที่รับดูแลผู้ป่วยต่างให้การรักษาอย่างเต็มที่ โฆษก สปสช.กล่าวว่า สำหรับในกรณีที่ผู้บาดเจ็บเป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทองนั้น การดูแลค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามสิทธิประโยชน์ตามระบบ ซึ่งมีความครอบคลุมค่าใช้จ่ายรักษา ตั้งแต่การรักษาในห้องไอซียู […]

“ติดโควิด” สิทธิบัตรทอง กทม.-ปริมณฑล รักษาตัวที่บ้าน ลงทะเบียนผ่านแอปฯ รับยาฟรี

ล่าสุดวันที่ 16 ก.ค.65 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ในตอนี้ พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียว หมายถึงมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ อุณหภูมิ 37.5 องศาขึ้นไป จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก มีเสมอหะ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกแนวทางปฏิบัติให้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน โดยผู้ที่ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ไปรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่หน่วยบริการตามสิทธิรักษาของตน รับยาแล้วกลับมากักตัวที่บ้าน 7+3 วันต่อ กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 การรักษาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ในส่วนของผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทอง (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. และ ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร นอกจากการรักษาตามแนวทางดังกล่าว ล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) […]

1 2 5
error: