หมอธีระวัฒน์ ชี้ปมพยาบาลเสียชีวิตแม้ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม

Advertisement หมอธีระวัฒน์ ชี้ปมพยาบาลเสียชีวิตแม้ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม ร้องขอวัคซีนเข็ม 3 ให้บุคลากรแพทย์ จากกรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ข้อความอาลัยน้องสาวซึ่งเป็นพยาบาลด่านหน้า ที่ติดโควิด ทั้งที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม และหลังจากที่ติดโควิดแค่อาทิตย์เดียวก็เสียชีวิตนั้น Advertisement ล่าสุด นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พร้อมเรียกร้องขอวัคซีนบูสเตอร์เข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยระบุว่า “วัคซีนซิโนแวค หลังจากฉีดสองเข็มจะเห็นภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสได้ที่ 30 วัน หลังจากฉีดเข็มที่สอง ในระยะแรก ที่พวกเราทำงานจะไม่ค่อยเห็นบุคลากรทางสาธารณสุขติดเชื้อเท่าไหร่และที่ติดอาการไม่ค่อยมากแต่แน่นอนแพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้โดยมีปริมาณไวรัส ในจำนวนสูง ในระยะต่อมา พวกเราเริ่มติดเชื้อกันมากขึ้นเรื่อยๆ น้องพยาบาลหมอและเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆ เด็กๆ ที่เพิ่งจบการอบรม กำลังจะไปทำงานที่ต้นสังกัดที่ต่างจังหวัดพบการติดเชื้อเช่นกันและอาการเริ่มดูเหมือนเห็นชัดเจนขึ้น เริ่มมีปอดอักเสบขึ้น แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิตและเราก็เชื่อมั่นว่าอย่างน้อยอาการก็ไม่หนัก และจนกระทั่งที่เห็นในรายนี้ Advertisement ทั้งนี้เมื่อเราตรวจสอบภูมิคุ้มกันในเลือด ของ พวกเรากันเองรวมทั้งคนที่ปฏิบัติงานในห้อง lab ที่ต้องเจอเชื้ออยู่ตลอดทุกวัน พบว่าระดับภูมิคุ้มกันลดลงอย่างรวดเร็วแม้ว่าในระยะแรกจะสูงถึง 90% ก็ตกลงมาเหลือ 30 ถึง […]

เลขาธิการแพทยสภา #SAVEด่านหน้า เรียกร้องรัฐ ฉีดเข็ม 3 ให้บุคลากรแพทย์

เลขาธิการแพทยสภา ติด #SAVEด่านหน้า ออกโรงเรียกร้องรัฐ ฉีดเข็ม 3 ไฟเซอร์ ให้บุคลากรทางการแพทย์ วันนี้ (5 ก.ค.) พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้โพสต์ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เพื่อสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ “ตามที่มีการประชุมเรื่องการพิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ ที่จะได้รับ 1.5 ล้านโดส ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้ ในกลุ่มบุคคลใดบ้าง โดยมีผู้เสนอให้บุคลากรทางการแพทย์ด้านหน้า ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มไปแล้ว ควรได้รับเพิ่มในการประชุม คณะกรรมการด้านวิชาการวัคซีน กรมควบคุมโรค ที่ผ่านมานั้น ด้วยบุคลากรทางการแพทย์ ในด่านหน้าเสมือนเป็นทหารอาสาสู้ศึก covid-19 ที่ต้องเสียสละตนเอง โดยมีโอกาสได้รับเชื้อจากผู้ป่วยตลอดเวลา ย่อมถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่สุด กว่ากลุ่มใดๆ ในการออกรบจำเป็นต้องได้รับ”เกราะป้องกันที่ดีที่สุด” เพื่อให้เขาสามารถ “อยู่รอด” ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เชื้อระบาดอย่างรุนแรงวิกฤต จนจำนวนบุคลากร ไม่เพียงพอ อยู่แล้ว การติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ คนหนึ่งไม่เพียงทำให้เขาหยุดงาน แต่กลายเป็นภาระของผู้ร่วมงานที่ต้องปฏิบัติงานแทน ขึ้นเวรแทน ทำงานมากขึ้น ในขณะที่หลายแห่งเพิ่มเตียงในตึกคนไข้ […]

error: