ปปช. ลุยสอบ นโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่น หลังสว.ท้วงติง หวั่นซ้ำรอยจำนำข้าว

Advertisement 10 ต.ค. 2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณารายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 และรายงานสถานการณ์การทุจริตประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565 Advertisement ทั้งนี้ ในการอภิปรายของสว.นั้น ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานเชิงรุกของ ป.ป.ช. ต่อการตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ที่สำคัญ คือ นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซึ่งพบข้อท้วงติงจากฝ่ายต่างๆ และกังวลว่าจะซ้ำรอยโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าสูง โดยนางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรรมการ ป.ป.ช. ชี้แจงประเด็นข้อซักถามในการติดตามนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่รัฐบาลเตรียมดำเนินการ ว่า คณะกรรมการเฝ้าระวังสภาวะการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งตนเป็นประธาน ได้ศึกษารวบรวมละเอียดข้อมูล โดยได้ศึกษาคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11-12 ก.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 1 หมื่นบาท […]

ปปช.เผย 5รัฐวิสาหกิจไทย สอบตก เกณฑ์คุณธรรม-ความโปร่งใส ปี 2565

หลังจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ 2565 นอกจากจะพบรายชื่อหน่วยงานราชการของรัฐที่สอบตก ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินแล้ว ยังพบข้อมูลของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่น่าสนใจ โดย สำนักงาน ป.ป.ช. ได้สำรวจข้อมูลของรัฐวิสาหกิจของกระทรวงต่าง ๆ ทั้งหมดในประเทศไทย 51 แห่ง ซึ่งผลการประเมิน ITA กำหนดค่าเป้าหมาย หรือค่าเฉลี่ยที่หน่วยงานต่าง ๆ ต้องมีคะแนน 85 คะแนนขึ้นไป ถึงจะผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำงานไปได้ ภาพรวมของผลการประเมิน ITA รัฐวิสาหกิจ ในปี 2565 พบว่า รัฐวิสาหกิจ มีคะแนนรวม 92.85 คะแนน แบ่งเป็นด้านต่าง ๆ คือ การปฏิบัติหน้าที่ 95.78 คะแนน การใช้งบประมาณ 92.14 คะแนน การใช้อำนาจ 93.44 คะแนน การใช้ทรัพย์สินของทางราชการ 91.46คะแนน การแก้ไขปัญหาการทุจริต 92.55 คะแนน คุณภาพการดำเนินงาน 91.97 […]

ปปช.เตรียมตรวจสอบทรัพย์สิน ขรก.3ล้านคนทั่วประเทศตามกฏหมายใหม่ หวังปฏิรูปราชการไทยให้โปร่งใสมากยิ่งขึ้น!!

  พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)กล่าวว่า ขณะนี้ ป.ป.ช.อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อรับมือกับการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของข้าราชการทั่วประเทศจำนวนกว่า 3 ล้านคน ที่กฎหมายใหม่บังคับให้ข้าราชการทุกคนต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้บังคับบัญชา โดยอยู่ระหว่างการเรียงลำดับความสำคัญของกลุ่มราชการที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินก่อน  ซึ่งเบื้องต้นอาจจะเป็นกลุ่มผู้ที่บังคับใช้กฎหมาย กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของความโลภและการทุจริต เช่น ตำรวจ, เจ้าหน้าที่สรรพากร , สรรพสามิต และศุลกากร เป็นต้น จึงต้องคิดระบบ Big Data เพื่อรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ โดยอาจให้ข้าราชการทุกคนยื่นผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งจะง่ายต่อการเปรียบเทียบความมีอยู่จริงของทรัพย์สิน ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนภายในปีนี้ ขอบคุณข่าวจาก : innnews

error: