ข้อคิดเตือนใจ…ชีวิตจะมีความสุขได้ ถ้าไม่พยายามเอาชนะคนโง่4ประเภทนี้!

Advertisement   Advertisement ปล่อยคนโง่ ให้เป็นไปตามกรรม ก่อนอื่น มาดูกันว่ายังไงบ้างที่เรียกได้ว่า “โง่”     1. ชอบโยนความผิด ถ้าคนธรรมดาทำผิด ก็จะรับและใช้เป็นบทเรียน พร้อมปรับปรุง แก้ไข ในวันต่อไป ไม่ให้ผิดอีก แต่ถ้าผิด แล้วโยนความผิดให้คนอื่น เรียกว่า ‘โง่’ แค่นี้ก็ไม่รู้ว่าตัวเองผิด แค่นี้ก็ไม่กล้าปรับปรุง ก็เลยโง่อยู่อย่างนั้น โง่ซ้ำๆ ซากๆ ถ้าเจอคนแบบนี้ อย่ารู้จัก จะดีกว่าเนอะ ปล่อยเขาไป ตามเวรตามกรรมเถอะ 2. ถูกเสมอ อันนี้สืบมากจากข้างบน คือ ยังคิดว่าตัวเองถูกตลอด สังเกตได้ว่าเวลามีข้อขัดแย้ง จะเถียงเอาเป็นเอาตายไม่มีฟังชาวบ้าน ใช้ตรรกะวิบัติ เหตุผลวิบัติไปเรื่อยๆ แถข้างๆ คูๆ เพื่อเอาชนะเราก็เท่านั้น เจอคนแบบนี้ เงียบดีกว่าค่ะ จำไว้ว่า “เสือ ไม่มีวันลดตัวไปกัดกับ หมา” ฉันใด ก็ฉันนั้น เจ้าค่ะ 3. ก้าวร้าว […]

อ่านกี่ครั้งก็โดนใจ! 14ข้อคิดจากการทำงานมา5ปี อ่านแล้วคิดให้ดีก่อนจะเลือกทางเดินไหนต่อ!

  ข้อคิดที่ได้จากการทำงานมาครบ 5 ปี 1. วิธีการขึ้นเงินเดือนที่เร็วที่สุดคือ การย้ายงาน ไม่ใช่ขึ้นตำแหน่งในบริษัทเดิม 2. ครอบครัวคือสิ่งที่สำคัญที่สุด บริษัทไม่รักคุณเท่าครอบครัวของคุณหรอก ถ้าวันนี้คุณทำงานหนักแล้วล้มป่วยไป อีก 2 เดือนข้างหน้าบริษัทก็จ้างคนใหม่มาทำงานแทนคุณแล้ว 3. อย่าทำงานจนละเลยสุขภาพของตัวเอง ไม่มีความสำเร็จใด ทดแทนสุขภาพที่เสียไปได้ อันนี้สำคัญสุด 4. ไอ้คนที่พูดแต่เรื่องให้คุณเสียสละทุกอย่าง ถวายตัวกับงาน .office คือบ้าน ต้องกลับดึก ฯลฯ , พูดเรื่อง company loyalty/spirit/team work ซ้ำไปซ้ำมา คือ คนที่หลอกใช้คุณเพื่อความเจริญของเขาเอง 5. คนที่เจริญได้เพราะนำเสนอ + ทำ Powerpoint + สรุปงานเก่ง แต่ทำงานไม่ได้เรื่องอะไรเลยมีอยู่จริง คุณเหนือกว่าพวกเค้าได้ด้วยการทำงานให้เก่งด้วย + Present ตัวเอง 6. ควรเก็บออมเงินตั้งแต่ปีแรกของการทำงาน เพราะปีแรกของการทำงานคุณจะสนุกกับการใช้เงินจนลืมเก็บตังค์ 7. ผมเคยทำงานแบบถวายหัวชนิดทิ้งทุกอย่าง ทิ้งบ้านทิ้งครอบครัว ทิ้งเพื่อนฝูง เพื่องาน […]

วิกรมเผย คนไทยตกงานเพราะ10จุดอ่อนนี้! จริงหรือไม่? ต้องอ่าน!

  เคยสงสัยหรือไม่? ทำไมคนไทยเก่งก็เยอะ แต่เหตุใดไม่พัฒนาไปไหนไกล? เคยสงสัยหรือไม่? ทำไมคนไทยหลายคนตกงานเพียบ ทั้งที่อัตราผู้เรียนจบวุฒิ ป.ตรี ก็เพียบ? วิกรม กรมดิษฐ์ วิเคราะห์จุดอ่อนคนไทย 10 ข้อไว้ด้วยกันดังนี้ 1. คนไทยรู้จักตัวตนของเราเองต่ำมาก กล่าว คือ รู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะมีสำนึกต่อสังคมส่วนรวมสูงมาก ของเราจะไม่คำนึงถึงส่วนรวม แต่จะเป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา จนทำให้เกิดวัฒนธรรมสืบทอดกันมายาวนาน โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจทุกระดับชั้น จนมีคำพูดว่า ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ทุกคนแสวงหาอำนาจเพื่อจะตักตวงเพราะความไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้จักประเทศของตัวเองเช่นนี้แล้ว ทำให้ประเทศชาติของเราล้าหลังไปเรื่อย ๆ 2. การศึกษาของไทยยังไม่ทันสมัย สอนให้คนเห็นแก่ตัวมากกว่า ขาดจิตสำนึกต่อสังคม แม้แต่ภาษาคนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้เราขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่าง ๆ ประเทศอื่น ๆ รู้จักคนไทยน้อยมาก เพราะคนไทยไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น เพราะคุณภาพการศึกษาของเราไม่ทันสมัย จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า 3. คนไทยมองอนาคตไม่เป็น เท่าที่สังเกตเห็นว่าคนไทยกว่า 70% ทำ งานแบบไร้อนาคต แบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวัน ๆ น้อยนักที่จะวางแผนให้ตัวเองอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน […]

น่าคิด! บางคนปฏิบัติธรรม เข้าวัดเป็นประจำ แต่เหตุใดยังชอบเอาเปรียบ-ว่าร้ายคนอื่น?

  สกู๊ปโดย : goodlifeupdate.com Dhamma Daily : ทำไมปฏิบัติธรรม แล้วยังเอารัดเอาเปรียบและพูดจาว่าร้ายคนอื่น ถาม : ผู้ปฏิบัติธรรม บางคนชอบเล่าบ่อยครั้งว่าตนนั่งสมาธิ ฟังธรรมเป็นประจำ แต่เพื่อนในกลุ่มรู้สึกตรงกันว่า เขามักเอาเปรียบและพูดจาว่าร้ายผู้อื่นเสมอ ยุยง ส่งเสริมให้เพื่อนในกลุ่มแตกแยกกัน อยากสอบถามว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นคะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือคนที่ปฏิบัติฝักใฝ่ในธรรมโดยแท้จริง  ตอบ : การปฏิบัติธรรม นั้นเป็นหนทางการขัดเกลาจิตใจให้ลดความเห็นแก่ตัว ถอนความถือตัวและละความอหังการ (ยึดมั่นว่าตัวเรา) นี่คือสาระหลัก แต่คนที่อ้างตนว่าเป็นผู้ ปฏิบัติธรรม แต่มีพฤติธรรมตรงกันข้ามนั้น น่าจะยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมตามสมอ้าง ดังนั้นนักปฏิบัติธรรมที่แท้จริงต้องเป็นไปเพื่อการชำระความเย่อหยิ่งความถือตัว ความเห็นแก่ตัว อาจเรียกว่าเป็นผู้กำลังหันหลังให้กับอัตตาก็ว่าได้ และต้องปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นสม่ำเสมอ หลักการของผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่แท้จริงควรมีลักษณะที่โดดเด่นและแจ่มชัด กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง หมั่นบำเพ็ญแต่ความดี บริหารจิตของตนให้ผ่องใสเนือง ๆ ไม่กล่าวโทษหรือทำร้ายผู้อื่น มีความสำรวมในข้อปฏิบัติอันชอบด้วยธรรมเสมอ มักจะเป็นผู้รู้จักประมาณในการใช้ชีวิต เลือกเฟ้นสังคมหรือชุมชนที่เหมาะสม และขยันฝึกฝนตนเองอยู่ตลอดเวลา นี่คือหลักการสำคัญของนักปฏิบัติในพระพุทธ-ศาสนา และเป็นหลักสากลที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ถ้าถือปฏิบัติผิดแผกแตกต่างไปจากหลักการเช่นนี้ก็แสดงว่า ผู้นั้นยังไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ฉะนั้น จากคำถามนี้อาจพิจารณาได้ด้วย 2 เหตุผล กล่าวคือ 1. ผู้นั้นอาจไม่ได้ปฏิบัติธรรมตามกระบวนการโดยแท้จริง เพียงแต่สละตนเข้าปฏิบัติธรรม เพื่อให้ตัวเองได้ถูกเรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติจริงและไม่สามารถเข้าถึงหลักการที่แท้จริงได้ เพราะรับเอาแต่เฉพาะรูปแบบการปฏิบัติตามคนอื่น แต่ตนเองไม่เข้าใจว่าตนได้ปฏิบัติธรรมจริงหรือเปล่า หรือกำลังได้อะไรจากการเข้าปฏิบัติธรรมนั้น นี่เรียกว่าหลอกทั้งตนเองและผู้อื่นด้วยประเภทนี้จะเสียประโยชน์ตนและเสียเวลาเปล่า 2. ผู้นั้นอาจเป็นผู้สละตนเข้าปฏิบัติธรรมจริง แต่ว่ามีอุปนิสัยดั้งเดิม เช่น ความโลภ แล้งน้ำใจ หรือมีนิสัยปากเปราะชอบว่าร้ายผู้อื่น ยังคงทำหน้าที่อยู่ก็เป็นไปได้เพราะอุปนิสัยนั้น บางทีไม่อาจสลัดออกไปได้โดยสิ้นเชิงทีเดียว เพราะมันเป็นกิเลสที่นอนเนื่อง เป็นสันดานติดตัวมาจากหลายภพชาติที่ผ่านมา เคยสั่งสมพฤติกรรมเก่าในอดีตชาติ ดังนั้น ผู้อ้างตนว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมท่านนี้แม้เข้าปฏิบัติธรรมก็จริง แต่ยังไม่สามารถละอุปนิสัยเดิมก็เป็นได้ แต่คำถามที่น่าสนใจคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ใดคือผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ควรมีหลักการสังเกตไว้ดังนี้ จิตใจต้องอ่อนโยน ละเอียด ละเมียดละไม เป็นผู้สงบ ผู้อยู่ใกล้ชิดจะสามารถสัมผัสความเยือกเย็นของเขาได้โดยการแสดงออกผ่านการกระทำ ผู้ปฏิบัติธรรมมักมีจิตเอื้อเฟื้อ เสียสละ เห็นใจคนอื่นง่าย ประกอบกับมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง ผู้ปฏิบัติธรรมมักมีปฏิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาดมีความรู้เรื่องศีลธรรม และตระหนักในคุณค่าของความดีเสมอ

สละเวลาอ่านสัก3นาทีชีวิตเปลี่ยน…’อย่าอวดเงิน อย่าอวดงาน อย่าอวดรถ’

  หากชีวิตเรา ถือเงินทองเป็นจุดมุ่งหมายเป็นศูนย์กลาง ชีวิตนั้นมีแต่ความยากลำบาก หากชีวิตเรา ถือบุตรธิดาเป็นจุดมุ่งหมายเป็นศูนย์กลาง ชีวิตนั้นมีแต่ความเหนื่อยล้า หากชีวิตเรา ถือความรักเป็นจุดมุ่งหมายเป็นศูนย์กลาง ชีวิตนั้นมีแต่ความเจ็บปวด หากชีวิตเรา ถือการแข่งขันเปรียบเทียบเป็นจุดมุ่งหมายเป็นศูนย์กลาง ชีวิตนั้นมีแต่ความตกต่ำ หากชีวิตเรา ถือความเอื้อเฟื้อใจกว้างเป็นจุดมุ่งหมายเป็นศูนย์กลาง ชีวิตนั้นมีแต่ความโชคดีมีสุข หากชีวิตเรา ถือความพอเพียงเป็นจุดมุ่งหมายเป็นศูนย์กลาง ชีวิตนั้นมีแต่ความสุข หากชีวิตเรา ถือบุญคุณเป็นจุดมุ่งหมายเป็นศูนย์กลาง ชีวิตนั้นมีแต่ใจเมตตา คุณธรรม สุภาพบุรุษ 6 ประการ 1. การเป็นคน : เหนือเราให้นบน้อม ใต้เราอย่าดูหมิ่น นั้นคือ ธรรมเนียมปฏิบัติ 2. การงาน : เรื่องใหญ่ให้จริงจัง เรื่องเล็กที่ไม่สำคัญอย่าใส่ใจ ถือเป็นปัญญา 3. เกี่ยวเนื่องผลประโยชน์ : สามารถได้ 6 ส่วน แต่เอาเพียง 4 ส่วน ถือเป็นคุณธรรม 4. ความเที่ยงตรง : รักษาตัวดั่งเช่นดอกบัว หอมใสสะอาดขจรไกล ถือเป็นความเที่ยงธรรม 5. การปฏิบัติกับคน : นอกในเป็นหนึ่งเดียว สัตย์ซื่อต่อผู้คน ถือเป็นความน่าเชื่อถือ 6. การบำเพ็ญ : รวมศูนย์จิตสมาธิ เคารพฟ้ารักผู้คน ถือเป็นเมตตาธรรม เวลาไม่มีเงิน ขอให้ขยันทำงาน เงินก็มา อันนี้เรียกว่า สวรรค์ประทานรางวัลให้ความขยัน เวลามีเงิน เอาเงินออกไป คนก็มาเลย อันนี้เรียกว่าเงินไปคนมา หากมีคนแล้ว […]

error: