[แนะนำ] เทคนิคฝึกพูดภาษาอังกฤษ

Advertisement หลายๆคนคงเป็นใช่มั้ยครับ ที่รู้สึกว่าแกรมม่าตัวเองก็แน่น ศัพท์ตัวเองก็ได้ เวลาสอบภาษาอังกฤษในชั้นเรียนก็ทำได้ แต่พอจะเอามาใช้พูดจริงๆทำไมมันพูดไม่เป็นเลย คำถามนี้ตอบได้ง่ายๆเลยคือ ก็ในชั้นเรียนเราฝึกแค่อ่านกับเขียน เราไม่ได้ฝึกพูดกับฟังซักหน่อย พอไม่ได้ฝึกก็เป็นเรื่องธรรมดาครับที่จะไม่ได้ แล้วทีนี้จะฝึกพูดยังไงให้คล่อง ในเมื่อเราก็อยู่ในไทย ไม่มีใครให้พูดภาษาอังกฤษด้วย ผมมีเทคนิคในการฝึกพูดของผมเองมาแชร์ให้อ่านกันครับ Advertisement คิดเป็นภาษาอังกฤษ       หลายคนพอได้อ่านก็คงคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ใช่มั้ยครับ เพราะว่าแค่พูดหรือกระทั่งอ่านภาษาอังกฤษยังยากเลย จะไปเอาอะไรกับการคิด แต่ผมอยากจะบอกว่าการคิดเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ยากอย่างที่คิดครับ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าการคิดเป็นภาษาอังกฤษมีประโยชน์ยังไง อย่างแรกเลยคือถ้าเราคิดเป็นภาษาอังกฤษได้เราจะไม่ต้องมาแปลจากภาษาไทยเป็น ภาษาอังกฤษแล้วครับ ประโยชน์ข้อนี้ดีมากๆ เพราะว่าหลายครั้งการแปลจากไทยเป็นอังกฤษทำให้ภาษาอังกฤษที่ได้มาไม่สละสลวยครับ และบางทีอาจจะฟังไม่รู้เรื่องด้วยสำหรับชาวต่างชาติเพราะว่าเค้าไม่พูดกันแบบนั้น(แบบที่เราพูดกันในภาษาไทย) อย่างที่สองเมื่อเราคิดเป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว เราจะทำอะไรๆมันก็คล่องและเร็ว ไม่ใช่เฉพาะการพูดอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการเขียน การอ่าน และการฟังด้วยเนื่องจากไม่มีภาษาไทยมาคั่นตรงกลาง       การฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษก็เหมือนกับการฝึกอื่นๆ คือเราไม่ต้องพยายามคิดเป็นภาษาอังกฤษทั้งวันทุกวันนะครับ นั่นก็อาจจะเหนื่อยเกินไป แค่เราเจียดเวลาซักครึ่งชม.หรือมากกว่านั้นมาคิดเป็นภาษาอังกฤษก็พอ และควรจะทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องทำทุกวันก็ได้ แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ แล้วจะเห็นผลครับ (อาจจะฝันเป็นภาษาอังกฤษเลยก็ได้)       ที่นี้เราจะคิดเป็นภาษาอังกฤษได้ยังไงเพราะว่าการคิด(เป็นภาษาใดภาษา หนึ่ง)ในหัวก็เป็นจุดเริ่มต้นแรกในการที่เราจะสื่อสารอะไรออกมา คำตอบคือถูกครึ่งไม่ถูกครึ่งครับ บางครั้งการคิด(เป็นภาษาใดภาษาหนึ่ง)ก็เป็นสิ่งแรกที่เรานึกถึงเวลาจะพูดอะไรออกมา แต่บางครั้งก็ไม่ใช่ครับ เราเคยจะพูดอะไรซักอย่างในภาษาไทยแต่ว่าพูดไม่ออกมั้ยครับ มันติดอยู่ในหัวไม่รู้จะเลือกคำไหนดี หรือว่าไม่รู้ว่าจะเรียบเรียงประโยคยังไงดี นั่นแหล่ะครับแสดงว่าก่อนหน้าที่มันจะมีคำพูดในหัวเรามันมีความคิดอย่างอื่นก่อนครับ แล้วเราค่อยมาแปลงเป็นภาษาไทยอีกที ผมจะขอเรียกสิ่งนั้นที่อยู่ก่อนหน้าการคิดแบบเป็นภาษาว่า”การคิดเป็นรูป”นะครับ ความจริงมันไม่ใช่การคิดเป็นรูปเสมอไป เพราะว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมเช่น “ทำไม” “อย่างไร” “ความรัก” “ความเป็นส่วนตัว” […]

error: