รถ BRT-EV โฉมใหม่ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ให้บริการวันแรก นั่งฟรี 2 เดือน

Advertisement จากกรณีสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลโครงการพัฒนาระบบการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ และได้ประกาศผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) โดยมีระยะสัญญาจ้าง 5 ปี Advertisement เมื่อวันที่ 1 ก.ย. เพจเฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ออกมาโพสต์ภาพบรรยากาศการ BRT-EV โฉมใหม่ให้บริการวันแรก ซึ่งมีการให้บริการในเส้นทางสาทร – ราชพฤกษ์ พร้อมทั้งระบุว่า “BRT-EV เป็นรถโฉมใหม่ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ภายในรถจะค่อนข้างเงียบ” พร้อมทั้งมีทางลาดคนพิการ เพื่อให้การขึ้น – ลง สะดวกยิ่งขึ้น สำหรับพื้นชานชาลาจะมีทางลาดชั่วคราวจากปลายชานชาลาเดิม ซึ่งสามารถชำระด้วยบัตรแรบบิท หรือสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อขึ้นโดยสารรถบีอาร์ที โดยที่สถานีจะไม่มีช่องทางการจำหน่ายบัตรโดยสาร Advertisement โดยตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. – 31 ต.ค. 2567 จะเปิดให้บริการฟรี (ฟรี […]

“BTS” ย้ำข้อห้ามใช้รถไฟฟ้าช่วงสงกรานต์ บอกชัด ตัวเปียกน้ำขึ้นได้หรือไม่

9 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก “รถไฟฟ้าบีทีเอส” โพตส์ข้อห้ามในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในช่วงสงกรานต์ ระบุข้อความว่า ข้อห้ามในระบบบีทีเอสช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง แอดมินขอย้ำเตือนข้อปฏิบัติที่สำคัญในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสอีกครั้งครับ ห้ามนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในระบบรถไฟฟ้า พลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ลูกโป่ง อาวุธ ของมีคม ปืนบีบีกัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ แอลกอฮอล์มากกว่า 500 มล. วัตถุไวไฟ/วัตถุอันตราย และห้ามสูบบุหรี่ในระบบรถไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำ 3 ข้อปฏิบัติ ในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงสงกรานต์ ดังนี้ เทน้ำ เทแป้ง ออกก่อน ทางเข้าสถานีจะมีถังให้เทน้ำ และแป้งออกให้หมด ก่อนเข้าระบบรถไฟฟ้า ตัวไม่เปียก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน หากตัวเปียกโชก เจ้าหน้าที่อาจขอให้ผู้โดยสารยืนรอสักครู่ครับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการ เช็ดตั๋ว เช็ดน้ำ และแป้งบนบัตรโดยสาร ออกให้หมดก่อนนำไปใช้งาน เพราะอาจทำให้อุปกรณ์มีปัญหาได้ เนื่องจากไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเล่นน้ำสงกรานต์ในระบบเดินทาง   ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์

BTS ตอบปมคลิปห้ามถ่ายภาพ เผยตั้งแต่เปิดบริการมา23ปีไม่เคยห้าม เหตุที่เกิด ไม่ได้เกิดในพื้นที่BTS

14 มิ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ระบุว่า กรณี มีผู้เผยแพร่คลิป ผ่านแอพพลิเคชั่นTikTok ถึงเหตุการณ์เข้ามาถ่ายคลิปวิดีโอ ในสถานีรถไฟฟ้าแห่งหนึ่ง และมีเจ้าหน้าที่สถานี เข้ามาแจ้งห้ามถ่ายทำ พร้อมกับโพสต์ข้อความหน้าคลิปว่า “BTS ห้ามใช้โทรศัพท์ถ่ายรูป? ใช้กฎหมายตัวไหน อำนาจอะไรมาห้าม” ทำให้คลิปดังกล่าวมีการแชร์บนโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว และได้สร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้โดยสาร เกี่ยวกับการห้ามถ่ายภาพ หรือคลิปบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จากเหตุการณ์ดังกล่าวบริษัทฯ ขอชี้แจงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และ ตั้งแต่เปิดให้บริการมากว่า 23 ปี ไม่มีนโยบายห้ามผู้โดยสารถ่ายภาพ หรือคลิปวิดีโอ ขณะเข้าใช้บริการสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแต่อย่างใด และสามารถถ่ายภาพได้ปกติ ทั้งการถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายภาพประเภทต่างๆโดยต้องไม่รบกวน และถ่ายภาพบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) รวมถึงกีดขวางการเดินทางของผู้โดยสารท่านอื่น และไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้อง หรืออุปกรณ์เสริมขนาดใหญ่ ไม่สามารถบันทึกภาพ หรือวิดีโอ เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมีมาตรการในด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยในการถ่ายภาพทุกกรณี […]

BTSสายสีชมพู รับสมัครพนักงาน280อัตรา บัดนี้เป็นต้นไป

  จากกรณีที่ รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ขยายเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เพิ่มเติมนั้น ล่าสุด รถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งเปิดรับสมัคงานเพิ่มกว่า 280 อัตรา รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดรับสมัครตำแหน่ง ดังนี้ – นายสถานี 80 อัตรา – ผู้ช่วยนายสถานี 50 อัตรา – เจ้าหน้าที่สถานี 150 อัตรา รายละเอียดเพิ่มเติม สแกน QR Code ได้ในโปสเตอร์ด้านล่างนี้

บีทีเอสสายสีเขียว “ชัชชาติ” เคาะแล้ว ตลอดสาย ไม่เกิน 59 บาท

(27 มิ.ย. 2565) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยความคืบหน้า กรณีสัญญาสัมปทาน “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ว่า จะต้องสรุปความคืบหน้าร่วมกับ นายธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการบริหารบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใน 1 เดือน สิ่งสำคัญคือ การคิดราคารถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ที่เป็นภาระหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีคนใช้อยู่ 27% ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว โดยเบื้องต้น คงเป็นไปตามข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ให้เก็บค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 59 บาท ในส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 แบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ และ ห้าแยกลาดพร้าว-คูคต ถึงเวลาที่ต้องจ่ายค่าโดยสาร เพราะต้องจ่ายค่าเดินรถเพื่อความยุติธรรม นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” มีหนี้ส่วนต่อขยายราว 100,000 ล้านบาทนอกจากนี้ ยังมีหนี้โครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล แบ่งเป็นหนี้วางระบบขณะที่หนี้ของรัฐบาล เป็นหนี้วางระบบรถ ประมาณ 19,000 ล้านบาท หนี้ค่าจ้างเดินรถ 13,000 ล้านบาท ซึ่งต้องพิจารณา […]

บีทีเอส ขอความร่วมมือ “ไม่นั่งไขว่ห้าง” ภายในรถไฟฟ้าบีทีเอส

บีทีเอส ขอความร่วมมือ ‘ไม่นั่งไขว่ห้าง’ ภายในรถไฟฟ้าบีทีเอส ชาวเน็ตเห็นด้วย เมื่อวันที่ 27 เมษายน เพจ รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ประกาศขอความร่วมมือ ไม่ให้นั่งไขว่ห้างภายในรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีผู้โดยสารหนาแน่น เนื่องจากขาอาจจะไปโดนผู้โดยสารคนอื่นที่ยืนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม มีผู้เข้าร่วมแสดงความเห็นที่แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่เห็นด้วย และแนะว่า ควรจะประกาศในขบวนรถไฟ ให้ได้ยินทุกขบวน เนื่องจากเห็นบ่อยมาก รวมไปถึงอยากฝากเตือนถึงพฤติกรรมอื่นๆ อย่างพวกนั่งอ้าขวากว้างๆ หรือพิงเสา บางคนก็แนะให้ติดป้ายเตือนเอาไว้ ขณะที่บางคนมีคำถามกลับว่า ถ้ามีคนน้อย จะสามารถนั่งได้ไขว่ห้างได้หรือไม่   ข่าวจาก : มติชน

วิจารณ์สนั่น! บีทีเอส สั่งห้ามรับ-ส่งของข้ามเขต จะทำได้ต้องซื้อตั๋วก่อน!

รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศไม่อนุญาตให้รับ-ส่งของข้ามเขตชำระเงิน หากจะส่งของให้คนอีกฝั่งต้องซื้อบัตรโดยสารขั้นต่ำก่อน งานนี้โซเชียลจวกเห็นแก่ได้เกินไป ไม่กีดขวางขนาดนั้น     วันที่ 15 มิถุนายน 2564 รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้มีการออกประกาศระบุว่า บีทีเอสไม่อนุญาตให้มีการรับ-ส่งของข้ามเขตชำระเงิน (Gate) หากผู้โดยสารมีความประสงค์จะรับ-ส่งของให้กับผู้โดยสารท่านอื่น จะต้องทำการบันทึกบัตรออกจากระบบ หรือให้ผู้โดยสารอีกท่านซื้อบัตรโดยสารขั้นต่ำ เข้ามาในระบบเพื่อรับ-ส่งของ     ซึ่งภายหลังจากที่ทางบีทีเอสประกาศกฎดังกล่าว ชาวโซเชียลได้เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์กันสนั่น โดยมองว่าเป็นความใจแคบเกินไปหรือเปล่า แค่รับ-ส่งของไม่นานเกิน 2 นาที ไม่กีดขวางสักนิด พร้อมทั้งเรียกร้องให้บีทีเอสชดเชยบ้างหากมาสาย และผู้โดยสารประกาศบ้างได้ไหมว่าไม่ประสงค์จะรับฟังโฆษณาระหว่างเดินทาง สรุปก็คือบีทีเอสอยากได้เงินแหละ    

BTS แจ้งผู้ใช้งานบัตรแรบบิทต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

  รถไฟฟ้า BTS แจ้งผู้ใช้งานบัตรแรบบิทผ่านช่องทางทวิตเตอร์ว่า ตั้งแต่ 15 ก.พ.นี้ ตอนไปเติมเงินหรือเติมเที่ยวเดินทาง ที่ห้องตั๋ว BTS, BRT และศูนย์บริการแรบบิทสถานีสยาม เจ้าหน้าที่จะขอบัตรประชาชนเพื่อลงทะเบียนยืนยันตัวตน และสำหรับชาวต่างชาติ จะให้ใช้หนังสือเดินทางมายืนยัน ในขั้นตอนการลงทะเบียน ผู้ใช้นอกจากยื่นบัตรประชาชนแล้ว ต้องแจ้งเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลด้วย สำหรับคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนแต่ยังมีเงินหรือเที่ยวเดินทางในบัตรอยู่ ยังคงใช้บัตรได้ตามปกติ แต่เวลาเติมเงินครั้งต่อไปจะต้องใช้บัตรประชาชนมาลงทะเบียนเช่นกัน ทาง BTS แจ้งว่า การยืนยันตัวตนนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ ปปง. เป็นผู้ดูแลอยู่ ซึ่งข้อดีคือเมื่อบัตรหาย จะได้แจ้งระงับเพื่อรักษาเงินและเที่ยวเดินทางในบัตรได้ ข่าวจาก : blognone , BTS SkyTrain   เจ้าของบัตรแรบบิท #ทุกใบ โปรดฟังจ้า แอดมิน Rabbit Card ฝากมาแจ้งข่าว☺️ ตั้งแต่ 15 ก.พ.นี้ #ตอนไปเติมเงินหรือเติมเที่ยวเดินทาง ที่ห้องตั๋วบีทีเอส, บีอาร์ที และศูนย์บริการแรบบิท (สถานีสยาม) เจ้าหน้าที่จะขอบัตรประชาชน เพื่อลงทะเบียนยืนยันตัวตนให้ท่านด้วยนะครับ pic.twitter.com/ZOFDUwG30H […]

1 2
error: