เปิดชื่อ 41 จังหวัด ลดเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39

Advertisement จากกรณีที่ สำนักงานประกันสังคม หรือ สปส.มีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่งวดเดือน ต.ค.67 – มี.ค.68 แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 41 จังหวัด ดังนี้ Advertisement กระบี่ กาญจนบุรี  กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น  ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย  เชียงใหม่  ตรัง ตาก นครนายก  นครปฐม  นครพนม  นครราชสีมา นครศรีธรรมราช  นครสวรรค์  น่าน  บึงกาฬ พะเยา  พังงา พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร  แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย สตูล สระบุรี สุโขทัย  สุราษฎร์ธานี  หนองคาย […]

ประกันสังคม จ่อลดเงินสมทบให้นายจ้าง-ลูกจ้างเหลือ 3% บรรเทาน้ำท่วม

26 กันยายน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงมาตรการการช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยและดินโคลนถล่มว่า ที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) มีมติเห็นชอบให้ลดการส่งเงินสมทบของฝ่ายนายจ้างสถานประกอบการและฝ่ายลูกจ้างร้อยละ 2 ให้เหลือจ่ายร้อยละ 3 (จากที่ถูกหักจากเงินเดือนร้อยละ 5) ตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม 2567 และจะมีการผ่อนผันไปถึงเดือนมีนาคม 2568 รวมเป็นระยะเวลา 6 เดือน “โดยยึดตามประกาศพื้นที่ประสบภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นหลัก และจะมีการนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป และขณะนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ได้ตั้งศูนย์ช่วยในการซ่อมบ้าน ดูแลระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ซ่อมเครื่องจักรทางการเกษตร อีกทั้งยังมีการมอบถุงยังชีพและอุปกรณ์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนพื้นที่อุทกภัย” นายพิพัฒน์กล่าว   ข่าวจาก : มติชน

กระทรวงแรงงาน หนุนนายจ้าง ลดเงินสมทบเข้ากองทุนเหลือ 0.5%

29 ส.ค. นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 26 ส.ค.65 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือสถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่ม กำหนดให้ต้องพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่พนักงานของตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพนักงานทั้งหมดนั้น ด้วยรอบปี พ.ศ. 2565 สถานประกอบกิจการหลายแห่งยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บางแห่งเริ่มดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถจัดอบรมให้แก่พนักงานได้เต็มที่ เนื่องจากต้องเร่งการผลิตและปรับปรุงกระบวนการทำงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว คณะกรรมการจึงกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ ปรับลดสัดส่วนการพัฒนาพนักงานจากไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เหลือเพียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพนักงานทั้งหมด พร้อมกับการปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปี 2565 จากร้อยละ 1 เหลือเพียงร้อยละ 0.5 เท่านั้น นายประทีป กล่าวต่อว่า นอกจากนี้คณะกรรมการส่งเสริม ยังเห็นชอบจำนวนผู้เข้าอบรมผ่านการฝึกอบรมออนไลน์ จากเดิมที่กำหนดให้ 1 ห้อง ต้องมีผู้เข้าอบรมไม่เกิน 30 คน ปรับเพิ่มให้เป็นไม่เกิน 50 คน […]

error: