สภา สว.แจ้งผลงาน3เดือนที่ผ่านมา ประชุม21ครั้ง ใช้เวลา123ชม.

Advertisement 29 ต.ค.67 ในการประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 21 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1)  บุญส่ง น้อยโสภณ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 แจ้งการสรุปผลการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติของวุฒิสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม – 30 ตุลาคม 2567 ว่า มีการประชุม 21 ครั้ง ใช้เวลา 123 ชั่วโมง 30 นาทีโดยประมาณ มีการหารือก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม 8 ครั้ง 123 เรื่อง ใช้เวลา 7 ชั่วโมง 45 นาที Advertisement ผลการดำเนินงานด้านกฎหมาย การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 11 ฉบับ วุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร 5 ฉบับ, วุฒิสภาเห็นชอบด้วยกรรมาธิการ 1 ฉบับ, อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน 1 ฉบับ […]

ปธ.วุฒิสภาตื้นตันใจ สว.อดีตแม่ค้าขายหมู ถาม รบ.”ทำไมไม่แจกเงินสด”

6 ส.ค.67 ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าว มติชนออนไลน์ รายงานว่า ระหว่างที่นางแดง กองมา ส.ว.กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกลุ่ม 9 อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมอยู่นั้น นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ เพื่อมารอสลับมาทำหน้าที่ประธานการประชุมนั้น พอได้ฟังนางแดงอภิปรายถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ หยิบกระดาษขึ้นมาซับน้ำตาตลอดเวลา พร้อมหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายคลิปที่นางแดงอภิปรายด้วย ทั้งนี้นายมงคลให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ยอมรับว่าน้ำตาไหล และรู้สึกตื้นตันใจที่ได้ชาวบ้านมาทำหน้าที่วุฒิสภา และมาพูดแทนชาวบ้าน ตนอายุ 72 ปี ไม่เคยเห็นชาวบ้านมานั่งในสภา และมาพูดแทนเขา คนอื่นก็พูดดี ทางประธานก็ไม่เร่งรัดเวลา เพราะสิ่งที่พูดเป็นสิ่งที่ดีงาม เราก็อยากให้เขาพูด เราจะได้ความรู้จากสิ่งที่เขาพูด “ที่ตื้นตันใจเพราะว่าเขาพูดในสิ่งที่พ่อแม่เราทำอาชีพนี้มาก่อนว่าถ้าบ้านหนึ่งได้เงินสดมาก็สามารถเอาเงินมาซื้อวัว ควาย ได้ ซึ่งเป็นธนาคารชาวบ้าน ผมอายุ 72 ปีแล้ว และสิ่งที่เขาพูดเป็นวิถีชีวิตของพ่อแม่เรา ถ้ามีเงินซื้อวัวมาตัวหนึ่ง ปีหนึ่งออกลูกก็นำวัวไปขายส่งลูกเรียนหนังสือ เพราะปลูกข้าวไว้แค่พอกิน ไม่ได้ปลูกไว้ขาย” นายมงคลกล่าว โดยในช่วงหนึ่ง the standard รายงานว่า นางแดง กองมา กล่าวแนะนำตัวว่ามาจากจังหวัดอำนาจเจริญ อาชีพแม่ค้าขายหมู […]

เปิดประวัติ “อำนาจ เจตน์เจริญรัตน์” อัยการสูงสุดคนที่18 ที่ สว.เห็นชอบนั่งตำแหน่ง

5 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติให้ความเห็น นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ รองอัยการสูงสุด ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด คนที่ 18 แทนน.ส.นารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุดคนปัจจุบัน ที่จะพ้นวาระในวันที่ 30 กันยายนนี้ ด้วยมติ 193 เสียง ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง โดยขั้นตอนหลังจากนี้ ประธานวุฒิสภา จะนำชื่อนายอำนาจ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ นายอำนาจ เกิดวันที่ 16 พฤศจิกายน 2501 อายุ 64 ปี สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และนิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผ่านการอบรมหลักสูตร อัยการจังหวัด หรือ สคช.รุ่นที่ 10, หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมชั้นสูง หรือ […]

วุฒิสภาชง “เพิ่มอำนาจสว.” แก้รธน. ปลดล็อกเงื่อนไข ไม่ต้องเว้นวรรคการเมือง2ปี

29 ส.ค.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานที่ประชุม ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่อง วุฒิสภา : ความสำคัญและบทบาทในการปกครองระบบรัฐสภาไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อเสนอตามรายงานของกมธ. ยืนยันให้รัฐสภา เป็นแบบ 2 สภาฯ คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อให้มีวุฒิสภาเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลกับฝ่ายสภาฯ และตรวจสอบฝ่ายบริหาร และเสนอให้ทบทวนเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่ง สว.ที่มาจากการเลือกกันเองตามกลุ่มและอาชีพ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.สว. 200 คน ที่มีคุณสมบัติแตกต่าง มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ จำกัดอายุ และมีสุขภาพแข็งแรง สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี สามารถกลับมาทำหน้าที่ได้อีกวาระหนึ่ง โดยไม่รวมวาระแรกของสว.ชุดปัจจุบัน เพื่อไม่ให้มีผลต่อการปฏิบัติงานในระยะต้น ทั้งนี้ กำหนดสว.ไม่ควรเป็นติดต่อกันเกิน 2 วาระ 2.ปรับคุณสมบัติของสว.ที่มาจากกลุ่มต่างๆ […]

รองประธานวุฒิสภา ยืนยัน ให้อิสระ ส.ว. โหวตนายกฯ ตามใจตัวเอง

7 ก.ค. 2566 – พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา และคณะสมาชิกวุฒิ ได้เดินทางมารับฟังปัญหาส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนชุมชนและประชาชน ตามโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน โดยมีประชาชนของอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอวชิรบารมี และอำเภอบึงนาราง และวังทรายพูน เข้าร่วมจำนวนจำนวนมาก ที่เข้าร่วมรับฟัง พล.อ.สิงห์ศึก กล่าวว่า ในวันที่ 13 ก.ค. เลือกตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทางคณะวุฒิสภา ต้องดำเนินการตามกระบวนการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางคณะสมาชิกวุฒิสภา มีส่วนพิจารณา ความเหมาะสม ทั้งทางด้านกฎหมาย นโยบายพรรค ขนบธรรมเนียมประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งทาง ส.ว. มีคุณสมบัติและวุฒิภาวะ ที่มีวิธีคิด ในการเลือกนายกรัฐมนตรีที่มี ความคิดของแต่ละคน ส่วนตัว มีอยู่ในใจ ในการเลือกครั้งนี้ แต่บางครั้งคนที่ได้ เลือกเข้ามาก็ไม่ได้เป็นนายก ก็มี พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ สมาชิกวุฒิสภา ระบุว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นสิทธิของสมาชิกวุฒิสภาของแต่ละคน แต่การโหวตในครั้งนี้มีอิสระการพิจารณา เนื่องจากในครั้งนี้สมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่ง 5 […]

ส.ว.รุมค้าน ไม่เก็บดอกเบี้ย-ค่าปรับ กยศ. หวั่นกองทุนเจ๊ง

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 พ.ย. 2565 ในการประชุมวุฒิสภา มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบปรับแก้เนื้อหา จากร่างที่ครม.เสนอมา ไม่ให้คิดดอกเบี้ยกู้ยืม ไม่มีเบี้ยปรับจ่ายล่าช้า และไม่มีผู้ค้ำประกันทุกกรณี โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ชี้แจงหลักการว่า กรณีที่สภาฯ แก้ไขเนื้อหาให้ปลอดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับนั้น ครม.เห็นว่าอาจนำมาซึ่งปัญหาขาดวินัยการชำระหนี้เงินกู้ ส่งผลให้เกิดอันตรายทางศีลธรรม ขาดจิตสำนึกส่งคืนเงินกู้ มีผลกระทบต่อการบริหารเงินกองทุนในอนาคต เพราะขาดรายได้จากดอกเบี้ย เบี้ยปรับ นายอาคม กล่าวต่อว่า หากเนื้อหายังเป็นเช่นนี้ อีกไม่เกิน 3 ปี อาจมีความจำเป็นต้องของบประมาณแผ่นดินเพิ่มเติม เพื่อให้มีเงินเพียงพอให้นักเรียนกู้ยืมต่อ หวังว่าวุฒิสภาจะพิจารณาให้กยศ.กำหนดอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับได้ เพื่อสร้างโอกาสการศึกษา สร้างวินัยการเงิน และรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจประเทศที่เพิ่งผ่านวิกฤตเศรษฐกิจสถานการณ์โควิด-19 จากนั้น ที่ประชุมเปิดให้ส.ว.อภิปรายแสดงความคิดเห็น ส.ว.ส่วนใหญ่อภิปรายไปแนวทางเดียวกัน คือ เห็นด้วยกับหลักการร่างพ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ช่วยเหลือนักศึกษาได้มีเงินกู้ยืมเรียน แต่ไม่เห็นด้วยที่จะไม่คิดดอกเบี้ย ไม่มีเบี้ยปรับ เกรงจะเป็นต้นเหตุไม่มีใครคืนเงินกู้ยืม ทำให้กองทุนกยศ.ดำเนินการต่อไปไม่ได้ โดยเสนอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ แทนการไม่คิดดอกเบี้ย […]

วุฒิสภาอนุมัติ “นารี ตัณฑเสถียร” อัยการสูงสุดหญิงคนเเรกของไทย

29 ส.ค. 2565 – ที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 26 ได้มีมติให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 โดยมีการเสนอชื่อ น.ส.นารี ตัณฑเสถียร อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด โดยผลการออกเสียงลงคะแนนปรากฏว่า ให้ความเห็นชอบ 205 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ ไม่มี และไม่ออกเสียง 7 เสียง จากสมาชิกวุฒิสภาที่มาแสดงตนทั้งสิ้น 212 ท่าน น.ส.นารี ตัณฑเสถียร จึงได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมากเป็นเอกฉันท์จากที่ประชุมวุฒิสภา เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป สำหรับ น.ส.นารี ตัณฑเสถียร ว่าที่อัยการสูงสุด คนที่ 17 จะเป็นอัยการสูงสุดผู้หญิงคนแรกขององค์กรอัยการ สําเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเนติบัณฑิตไทย ปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบ Howard University, Wash, D.C. U.S.A. ปริญญาโทด้านกฎหมายระหว่างประเทศ The American […]

รมว.พลังงานเสนอ “วุฒิสภา” ลดอุณหภูมิแอร์-ถอดสูท นำร่องประหยัดไฟ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 กรกฎาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม วาระกระทู้ถามเป็นหนังสือและกระทู้ถามสด โดยมีพล.อ.สกนธ์ สัจจาานิตย์ ส.ว. และ นายสุรเดช จิรฐิติเจริญ ส.ว. ตั้งกระทู้เพื่อสอบถามถึงแนวทางการแก้ปัญหาพลังงานและสถานการณ์พลังงานในประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน และแนวทางบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้แจงส่วนมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาพลังงานนั้นจะใช้แนวทางไหนในการประหยัดพลังงาน ว่า ใช้พลังงานสะอาด รวมถึงการรณรงค์ให้ประชาชนช่วยประหยัดไฟฟ้า ด้วยวิธีปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ “หากวุฒิสภาทำได้ ปรับอุณหภูมิไม่ต้องใส่สูท ผูกไทด์ และมีอุปกรณ์วัดพลังงาน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่าเร่ิมทำแล้ว ผ่านการถ่ายทอดสด เพื่อจะทำให้เกิดการปฏิบัติจริงจังมากขึ้น กระทรวงพลังงานพร้อมสนับสนุน เพื่อช่วยรัฐสภาทำเรื่องนี้ จะให้ข้อมูลและส่งเจ้าหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดหรือแสดงตัวเลขต่างๆ ให้เห็นเชิงประจักษ์ว่าการลดใช้พลังานได้ผล ด้วยวิธีง่ายนิดเดียว หากเราทำได้และสื่อสารประชาชนผ่านการถ่ายทอดสดของสภาฯ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีส่งผลประหยัด รณรงค์ใช้พลังงาน เป็นประโยชน์จะส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินการตาม” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว ข่าวจาก มติชนออนไลน์

ส.ว.ระทึก! นัดถกร่างกม.คุ้มครองพยาน 10 ม.ค. สั่งคุมเข้มสูงสุดสกัดโควิด

ส.ว.นัดประชุม 10 ม.ค. เฉพาะวาระ ร่างกม.คุ้มครองพยาน ย้ำเป็นความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยง เหตุใกล้ครบกำหนด 13 ม.ค. วางมาตรการเข้มสูงสุด ป้องกันโควิด เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2565 ที่รัฐสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญกิจการวุฒิสภา หรือวิปวุฒิสภา เปิดเผยว่า วิปวุฒิสภามีมติให้มีการประชุมวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ 10 ม.ค. เฉพาะวาระที่จำเป็นคือ ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองพยาน (ฉบับที่) พ.ศ. …. ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว และกมธ.วิสามัญของวุฒิสภาพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีการแก้ไขและสงวนคำแปรญัตติไว้ 4 มาตรา ทั้งนี้ วุฒิสภาต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 และขอขยายเวลาไปเป็นกรณีพิเศษแล้ว 30 วันแล้ว โดยจะครบกำหนดในวันที่ 13 ม.ค.นี้ “หากพิจารณาไม่เสร็จ ตามรัฐธรรมนูญก็ถือว่าให้ร่างพ.ร.บ.นั้น เป็นไปตามร่างที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร ทำให้การพิจารณาในชั้นวุฒิสภาก่อนหน้านั้นจะตกไปไม่มีผล เหมือนว่าวุฒิสภาไม่ได้กลั่นกรองร่างพ.ร.บ.ตามหน้าที่ […]

1 2
error: