อัพเดท สิทธิบัตรทอง ครอบคลุม-ไม่ครอบคลุม สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เช็กที่นี่

Advertisement อัพเดทสิทธิบัตรทอง มาดูกันว่า ครอบคลุมค่าใช้จ่ายบริการใดบ้าง และอะไรที่ไม่ครอบคลุม เบิกไม่ได้ สรุปให้ที่นี่ อัพเดท”สิทธิบัตรทอง” หลังจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เห็นชอบ (ร่าง)ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ.2564 ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนว่า สิทธิบัตรทองจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายบริการใดบ้าง และอะไรที่ไม่ครอบคลุม เบิกไม่ได้ Advertisement Advertisement บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การตรวจและรับฝากครรภ์ การบำบัดละการบริการทางการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การทำคลอด การกินอยู่ในบริการ การบริบาลทารกแรกเกิด บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่บอร์ด สปสช. กำหนดเพิ่มเติม บำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการปะสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รักษาภาวะมีบุตรยากและการผสมเทียม ยกเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน […]

สปสช.ชี้ ‘สิทธิบัตรทอง’ เข้าฉุกเฉินนอกเวลา’ไม่เสียเงิน’ แต่ต้องคิดว่าฉุกเฉินจริง และให้คิวอาการหนักก่อน

  "รศ.พญ.ประสบศรี" ชี้ ป่วยฉุกเฉินของสิทธิบัตรทองหมายรวมถึงฉุกเฉินในมุมของผู้ป่วยด้วย ไม่ต้องถึงระดับสีแดงก็รับบริการที่ห้อง ER ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ต้องรอคิวให้หมอรักษาผู้ป่วยหนักก่อน หรือเลือกจ่ายเงินรับบริการคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการก็ได้ รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีการเก็บค่าบริการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการว่า กรณีนี้ต้องเคลียร์ให้ชัดเจนก่อนว่านอกเวลาราชการคือเวลาของผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่ใช่เวลาของคนที่อยากจะมารับบริการเมื่อไหร่ก็มาได้ อย่างไรก็ดี ในส่วนของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะแตกต่างจากประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการตรงที่คำว่าฉุกเฉินในระบบบัตรทองจะครอบคลุมไปถึงความฉุกเฉินในมุมของคนไข้ด้วย หมายถึงให้เข้าใจถึงความรู้สึกของคนไข้ด้วยเพราะว่าบางครั้งคนไข้ไม่เข้าใจว่าอะไรคือฉุกเฉิน ดังนั้นถ้าคิดว่าอาการที่ตัวเองเป็น เป็นปัญหาฉุกเฉิน ก็สามารถใช้บริการได้ "ห้องฉุกเฉินเปิดให้สำหรับทุกสิทธิแต่ต้องเฉพาะที่เป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ซึ่งในกรณีคนไข้สิทธิอื่นที่ไม่ใช่บัตรทอง มีเฉพาะคนไข้สีแดงที่ไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้าเป็นสิทธิบัตรทองจะคลอบคลุมไปถึงสีเหลืองและเขียวด้วย เป็นกติกาที่มีตั้งแต่ตอนเริ่ม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่ากรณีฉุกเฉินของคนไข้บัตรทอง เรารวมถึงความฉุกเฉินที่คนไข้พิจารณาด้วย" รศ.พญ.ประสบศรี กล่าว อย่างไรก็ดี ในการรับบริการในห้องฉุกเฉินนั้น จะต้องเป็นการเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยคิดว่าฉุกเฉินจริงๆ เช่น ปวดท้องแล้วคิดว่าเป็นปัญหาฉุกเฉิน แต่ถ้ามาโรงพยาบาลแล้วทางโรงพยาบาลบอกว่ายังไม่ใช่ฉุกเฉินสีแดง อาจเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว คนไข้ก็จะไม่ถูกปฏิเสธการให้บริการแต่ต้องเข้าระบบการจัดลำดับความสำคัญที่ว่าคนไข้ฉุกเฉินสีแดงต้องได้รับการดูแลก่อน และเมื่อให้บริการแล้วจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ "แต่ไม่ใช่ว่าคนไข้บอกว่ากลางวันฉันไม่ว่าง ฉันจะมาเวลานอกราชการ มารับบริการตามใจฉันไม่ได้ ทำได้อย่างเดียวคือมีอาการและคิดว่าเป็นเรื่องฉุกเฉินจึงขอมาใช้บริการที่ห้องฉุกเฉิน ต้องนั่งคอยตามการจัดลำดับความเร่งด่วนของคนไข้ ถ้าคนไข้เดินเข้ามาบอกว่าจะขอทำแผล แบบนี้คงไม่ใช่ฉุกเฉิน หรือเพิ่งเลิกงานเลยจะมาตรวจ แบบนี้ก็ไม่ใช่ ก็ต้องไปคลินิกนอกเวลาราชการที่มีการคิดเงิน หรืออีกอย่างคือนั่งรอที่ห้องฉุกเฉินจนกระทั่งคนไข้ฉุกเฉินหมดก่อน แล้วค่อยทำแผล แบบนี้ก็ไม่ต้องคิดเงิน ถ้าถูกคิดเงินก็มาอุทธรณ์คณะกรรมการควบคุมฯ ของ […]

1 2
error: