ยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาล คืนสิทธิรักษาพยาบาลผู้รับบำเหน็จรายเดือน

Advertisement 8 ต.ค.67 เวลา 11.45 น. ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และ นางวาสนา ยศสอน สมาชิกวุฒิสภา รับหนังสือจาก นายวิชาญ ชัยชมภู นายกสมาคมลูกจ้างส่วนราชการและผู้รับบำเหน็จรายเดือน Advertisement เพื่อขอให้รัฐบาลคืนสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลให้ลูกจ้างประจำหลังเกษียณอายุราชการ(ผู้รับบำเหน็จรายเดือน) ปัจจุบันมีลูกจ้างประจำส่วนราชการทั่วประเทศ จำนวน 45,493 คน และผู้รับบำเหน็จรายเดือน จำนวน 91,769 คน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายของรัฐที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างประจำหลังเกษียณอายุราชการ ไม่เท่าเทียมและไม่ครอบคลุม เป็นเวลากว่า 15 ปี และยังไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาจากรัฐ เกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการการรักษาพยาบาลหลังเกษียณ  Advertisement ทั้งนี้ ลูกจ้างประจำในขณะที่ยังรับราชการจะมีสิทธิได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล เหมือนกับข้าราชการทุกอย่าง แต่เมื่อถึงวันที่เกษียณ ลูกจ้างประจำจะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้รับบำเหน็จรายเดือน สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลที่เคยได้รับจะถูกตัดสิทธิไปทันที โดยให้ไปใช้ระบบหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) แทน ซึ่งเกิดความไม่เป็นธรรม ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง และกระทบสภาพจิตใจของผู้รับบำเหน็จรายเดือน จึงขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวและให้กลับไปใช้สิทธิการรักษาพยาบาลเช่นเดิม […]

สปสช.ชี้ ‘โรคซึมเศร้า’ บัตรทอง-ประกันสังคม-ข้าราชการ รักษาฟรี

โรคซึมเศร้าเป็นแล้วรักษาได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากสิทธิรักษาพยาบาล บัตรทอง-ประกันสังคม-ข้าราชการ คุ้มครองการรักษาทั้งหมด ไทยพีบีเอสออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเพราะเข้าไม่ถึงข้อมูลบริการด้านต่างๆ รวมทั้งกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ซึ่งไม่รู้ว่าสิทธิรักษาพยาบาลของตนเอง ครอบคลุมการรักษาโรคดังกล่าวหรือไม่ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถใช้สิทธิได้ทันที หากได้รับคำวินิจฉัยจากจิตแพทย์ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยารักษาโรคซึมเศร้า มีจำนวน 8 รายการ “เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โรคซึมเศร้ารักษาได้ฟรี” สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจในสิทธิการรักษาพยาบาลของตัวเอง สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 เมื่อโทรไปแล้ว ให้กดหมายเลข 2 พร้อมใส่เลขบัตรประชาชน ระบบจะแจ้งสิทธิมาทันที หากมีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะแจ้งหน่วยงานบริการประจำ (ใกล้บ้าน) ว่าอยู่ที่ไหน เพื่อเดินทางไปรักษา ส่วนสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ ครอบคลุมการรักษาโรคซึมเศร้าทั้งข้าราชการและครอบครัว หากแพทย์ตรวจแล้วระบุว่าเป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาทันที ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม ตรวจสอบสิทธิเพิ่มเติมที่ กรมบัญชีกลาง โทร. 02-127-7000 ขณะที่สิทธิประกันสังคม สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ยืนยันว่าสำนักงานประกันสังคมให้ความคุ้มครองการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชทุกประเภท สามารถใช้สิทธิในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้ในระบบประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม […]

สปสช.ชี้ ‘สิทธิบัตรทอง’ เข้าฉุกเฉินนอกเวลา’ไม่เสียเงิน’ แต่ต้องคิดว่าฉุกเฉินจริง และให้คิวอาการหนักก่อน

  "รศ.พญ.ประสบศรี" ชี้ ป่วยฉุกเฉินของสิทธิบัตรทองหมายรวมถึงฉุกเฉินในมุมของผู้ป่วยด้วย ไม่ต้องถึงระดับสีแดงก็รับบริการที่ห้อง ER ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ต้องรอคิวให้หมอรักษาผู้ป่วยหนักก่อน หรือเลือกจ่ายเงินรับบริการคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการก็ได้ รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีการเก็บค่าบริการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการว่า กรณีนี้ต้องเคลียร์ให้ชัดเจนก่อนว่านอกเวลาราชการคือเวลาของผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่ใช่เวลาของคนที่อยากจะมารับบริการเมื่อไหร่ก็มาได้ อย่างไรก็ดี ในส่วนของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะแตกต่างจากประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการตรงที่คำว่าฉุกเฉินในระบบบัตรทองจะครอบคลุมไปถึงความฉุกเฉินในมุมของคนไข้ด้วย หมายถึงให้เข้าใจถึงความรู้สึกของคนไข้ด้วยเพราะว่าบางครั้งคนไข้ไม่เข้าใจว่าอะไรคือฉุกเฉิน ดังนั้นถ้าคิดว่าอาการที่ตัวเองเป็น เป็นปัญหาฉุกเฉิน ก็สามารถใช้บริการได้ "ห้องฉุกเฉินเปิดให้สำหรับทุกสิทธิแต่ต้องเฉพาะที่เป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ซึ่งในกรณีคนไข้สิทธิอื่นที่ไม่ใช่บัตรทอง มีเฉพาะคนไข้สีแดงที่ไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้าเป็นสิทธิบัตรทองจะคลอบคลุมไปถึงสีเหลืองและเขียวด้วย เป็นกติกาที่มีตั้งแต่ตอนเริ่ม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่ากรณีฉุกเฉินของคนไข้บัตรทอง เรารวมถึงความฉุกเฉินที่คนไข้พิจารณาด้วย" รศ.พญ.ประสบศรี กล่าว อย่างไรก็ดี ในการรับบริการในห้องฉุกเฉินนั้น จะต้องเป็นการเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยคิดว่าฉุกเฉินจริงๆ เช่น ปวดท้องแล้วคิดว่าเป็นปัญหาฉุกเฉิน แต่ถ้ามาโรงพยาบาลแล้วทางโรงพยาบาลบอกว่ายังไม่ใช่ฉุกเฉินสีแดง อาจเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว คนไข้ก็จะไม่ถูกปฏิเสธการให้บริการแต่ต้องเข้าระบบการจัดลำดับความสำคัญที่ว่าคนไข้ฉุกเฉินสีแดงต้องได้รับการดูแลก่อน และเมื่อให้บริการแล้วจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ "แต่ไม่ใช่ว่าคนไข้บอกว่ากลางวันฉันไม่ว่าง ฉันจะมาเวลานอกราชการ มารับบริการตามใจฉันไม่ได้ ทำได้อย่างเดียวคือมีอาการและคิดว่าเป็นเรื่องฉุกเฉินจึงขอมาใช้บริการที่ห้องฉุกเฉิน ต้องนั่งคอยตามการจัดลำดับความเร่งด่วนของคนไข้ ถ้าคนไข้เดินเข้ามาบอกว่าจะขอทำแผล แบบนี้คงไม่ใช่ฉุกเฉิน หรือเพิ่งเลิกงานเลยจะมาตรวจ แบบนี้ก็ไม่ใช่ ก็ต้องไปคลินิกนอกเวลาราชการที่มีการคิดเงิน หรืออีกอย่างคือนั่งรอที่ห้องฉุกเฉินจนกระทั่งคนไข้ฉุกเฉินหมดก่อน แล้วค่อยทำแผล แบบนี้ก็ไม่ต้องคิดเงิน ถ้าถูกคิดเงินก็มาอุทธรณ์คณะกรรมการควบคุมฯ ของ […]

กรมบัญชีกลางยกเลิกสแกนนิ้ว ใช้บัตรประชาชนยื่นรักษาพยาบาลแทนได้ทันที เริ่ม4พ.ค.นี้!!

  กรมบัญชีกลางปรับปรุงระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก โดยให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวใช้บัตรประชาชนในการพิสูจน์ตัวตนเพื่อใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงแทนรูปแบบเดิม สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งทั่วประเทศได้ทันที ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงระบบเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการยื่นใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลได้ทันที แทนการสมัครเข้าจ่ายตรง (สแกนนิ้ว) กับสถานพยาบาลของทางราชการแต่ละแห่งและต้องรอผลการอนุมัติอีก 15 วัน โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ณ สถานพยาบาลของทางราชการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 1,104 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์กลุ่มโรคเฉพาะ ได้แก่ การฟอกไต และรังสีรักษาสำหรับโรคมะเร็ง รวมจำนวน 213 แห่ง อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า กรมบัญชีกลางได้เวียนแจ้งแนวปฏิบัติการเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกแล้ว ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 143 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2561 พร้อมนี้กรมบัญชีกลางได้มอบหมายให้หมอคลังอุ่นใจ ซึ่งเป็นบุคลากรของกรมที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว นายทะเบียนของส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลของทางราชการและเอกชน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม […]

ข่าวร้ายของสิทธิเบิกราชการ!! ยารักษามะเร็งบางตัวอาจไม่สามารถเบิกตรงได้อีก!!

  20 ม.ค.61 เพจ Oncodog รายงานว่าต่อไปนี้ยารักษามะเร็งราคาแพงจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบ OCPA (ระบบลงทะเบียนก่อนใช้) และเป็นยานอกบัญชี จะไม่สามารถเบิกแบบจ่ายตรงได้อีกต่อไป ต้องสำรองจ่ายแล้วไปเบิกคืนจากต้นสังกัดเท่านั้นตามประกาศนี้ โดยความสำคัญ คือ ค่ายาต่อเดือนเกือบแสนหรือเกินแสน ข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือแม้แต่ตัวหมอเองยังไม่มีปัญญาหมุนเงินไปเบิกได้ หากไปหาหมอครั้งต่อไป ควรมีเงินสำรองไว้เผื่อหมุนทัน อนึ่ง สิทธิอื่นๆ ไม่กระทบนะเพราะยาเหล่านี้ใช้ไม่ได้อยู่แล้ว และยาที่อาจจะกระทบในสิทธิราชการนี้ ได้แก่ Zytiga (Abiraterone) สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก Nexavar (Sorafenib) สำหรับมะเร็งตับเป็นต้น คาดว่าเริ่มบังคับใช้ 14 ก.พ.นี้ โปรดติดตามต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือไม่           ขอบคุณข่าวจาก : Oncodog

error: