สินค้าจีนทะลักด่านอีสาน 3 เดือนเก็บภาษี พุ่ง 450 ล้านบาท

Advertisement หนึ่งในปัญหาเร่งด่วนที่ภาคคเอกชนเสนอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขคือ สินค้าจากจีนที่ทะลักเข้าไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการตั้งฐานผลิตในไทยและการเปิดช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์จากจีนที่ผู้ผลิตสามารถส่งสินค้าให้ผู้บริโภคได้โดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ลดต้นทุนและทำราคาต่ำได้ Advertisement ส่งผลกระทบวงกว้างถึง 23 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรากฐานของประเทศ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) รายงานว่า 6 เดือนแรกของปี 2567 ไทยมีการนำเข้าสินค้าจีนเพิ่มขึ้น 7.12% หรือคิดเป็นมูลค่า 37,569.89 ล้านเหรียญ ส่งผลให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ากับจีน 19,967 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 15.66% จากปี 2566 ที่ไทยขาดดุลการค้าจีน 36,635 ล้านเหรียญ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาเชิงรุกด้วยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาท หรือสินค้าที่มีมูลค่าตั้งแต่บาทแรก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการไทย พร้อมสั่งการให้กรมศุลกากรเข้มงวดในการตรวจจับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ขณะนี้กรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บ VAT 7% กับสินค้านำเข้าที่ต่ำกว่า 1,500 บาทเป็นการชั่วคราว เพื่อรอให้กรมสรรพากรสามารถเริ่มจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ตามกฎหมาย “จะจัดเก็บจากแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์คาดว่า […]

อินโดฯ ออกเก็บภาษีสินค้าจีน สูงสุด200% ป้องกันเศรษฐกิจประเทศ

internationalaffairs รายงานว่าไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศอินโดนีเซียได้มีการตัดสินใจของรัฐบาลในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าตั้งแต่ร้อยละ 100 ถึงร้อยละ 200 สำหรับสินค้าสิ่งทอ โดยส่วนใหญ่มาจากจีน ทำให้เกิดปฏิกิริยาหลากหลายและก่อให้เกิดคำถามที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการทูต สมาคมสิ่งทอแห่งอินโดนีเซีย (API) ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่น่าวิตก โดยเน้นกรณีโดยเฉพาะ ซึ่งมีรายงานว่าคนงานหลายพันคนถูกเลิกจ้าง เนื่องจากแรงกดดันของตลาด การพัฒนาดังกล่าวเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแทรกแซงของรัฐบาล แต่คำถามยังคงอยู่ว่าการเก็บภาษีศุลกากรที่สูงชันเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมหรือไม่ Luhut Binsar Pandjaitan รัฐมนตรีประสานงานด้านกิจการทางทะเลและการลงทุน ได้ปกป้องภาษีศุลกากรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันที่กว้างขึ้นซึ่งมุ่งเป้าไปที่การปกป้องอุตสาหกรรมต่างๆ นอกเหนือจากสิ่งทอ ความเคลื่อนไหวนี้ไม่ได้ถูกตีกรอบว่าเป็นการโจมตีสินค้าจีนแบบกำหนดเป้าหมายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกลไกเชิงกลยุทธ์ในการป้องกันสินค้านำเข้าที่หลากหลายจากประเทศต่างๆ รวมถึงเซรามิก เครื่องสำอาง อิเล็กทรอนิกส์ รองเท้า และเครื่องแต่งกาย คำแถลงนี้สอดคล้องกับคำชี้แจงของ Zulkifli Hasan ว่าภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่ร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 100 ขึ้นอยู่กับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในท้องถิ่น มาตรการนี้จะครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เซรามิก เครื่องสำอาง อิเล็กทรอนิกส์ รองเท้า และเครื่องแต่งกาย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำเข้าอินโดนีเซียได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับแผนที่จะมีการเก็บอากรนำเข้า 200% สำหรับสินค้าจากจีนและเตือนว่าการกระทำนี้จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการลอบนำเข้าสินค้าแบบผิดกฎหมาย

พาณิชย์เตรียมเชิญอินฟลูฯ ต่างชาติ ช่วยไลฟ์ขายสินค้าไทย ลดขาดดุลจีน

13 ส.ค.67 ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุผ่าน Facebook ว่า กระทรวงพาณิชย์เตรียมจัดมหกรรม Live Commerce ในช่วงเดือนกันยายน โดยให้ Influencer จากต่างประเทศเข้ามาคัดเลือกสินค้าไทย นำไป Live เพื่อขายสินค้าจากประเทศไทยไปยังผู้บริโภคในประเทศจีน ซึ่งขณะนี้มีการสำรวจสินค้าไทยซึ่งเป็นที่ต้องการของคนจีนจำนวนกว่า 500 รายการสินค้า เพื่อทำการซื้อขายดึงเม็ดเงินจากการส่งออกสินค้าเข้าสู่ประเทศ โดยมีเป้าหมายครั้งนี้อยู่ที่ประมาณ 1,500 ล้านบาท ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 ไทยขาดดุลการค้าจีน 19,967.5 ล้านดอลลาร์แล้ว นับเป็นการขาดดุลมานานหลายปีติดต่อกัน เนื่องจากจีนเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 1 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของการนำเข้ารวม (24.6%) และเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 2 ของไทย ซึ่งในปี 2566 มูลค่าส่งออกไปจีนคิดเป็นสัดส่วน 12% ภูมิธรรมกล่าวอีกว่า การเข้ามาของ Temu ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับโลก […]

โดนบุกหนัก !! สินค้าจีน ทำ‘ไทย’ ขาดดุลแค่ไหน เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน

อย่าง ‘อินโดนีเซีย’ ที่แม้ในปี 2566 จะเกินดุลการค้าจีนอยู่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในครึ่งแรกของปีนี้กลับขาดดุลการค้าจากจีนในกลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันและแก๊สไปแล้วกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน ‘มาเลเซีย’ ปีที่แล้วขาดดุลการค้าจีน 1.42 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ขาดดุลการค้าจีนราว 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ‘ไทย’ ขาดดุลการค้าจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2566 โดยขาดดุลมากถึง 3.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 1.3 ล้านล้านบาท) และในครึ่งแรกของปี 2567 นี้ยังนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น 7.12% ทำให้ 6 เดือนแรกขาดดุลการค้าจีนไปแล้ว 1.99 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 15% จึงไม่แปลกที่ชาติอาเซียนทั้ง 3 ประเทศจะเริ่มวาง ‘มาตรการภาษี’ รับมือสินค้าจีนทะลัก อย่างตอนนี้ ‘มาเลเซีย’ ได้กลับมาเก็บภาษีสินค้านำเข้าที่ซื้อผ่านออนไลน์ที่มีราคาต่ำกว่า 500 ริงกิต ซึ่งเคยยกเว้นมาตลอดแล้ว เช่นเดียวกับ ‘ไทย’ ที่รัฐบาลกลับมาเก็บภาษี […]

error: