ธปท.ห้ามนำดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ มาคำนวณรวมกับหนี้ที่ค้างชำระ

Advertisement ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2567 พบหนึ่งในข้อกำหนดเกี่ยวกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ตามประกาศของธปท.ในเอกสารแนบ 1 Advertisement พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ การกำหนดให้สถาบันการเงินผู้ให้บริการต้องไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการ เบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายตามที่ผู้ให้บริการได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุมารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระเพื่อคิดดอกเบี้ย และเบี้ยปรับอีก สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อยทุกประเภท รวมถึงบัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) ด้วย เนื่องจากการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นมีความซับซ้อนและอาจเป็นการซำเติมลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ รวมทั้งผู้ให้บริการต้องไม่กำหนดให้การเบิกใช้สินเชื่อทันทีที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อเป็นเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ โดยลูกค้าต้องมีสิทธิเลือกช่วงเวลาในการเบิกใช้สินเชื่อดังกล่าวได้ตามความต้องการ Advertisement หากผู้ให้บริการประสงค์จะมีผลิตภัณฑ์ที่มีเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องเบิกใช้สินเชื่อทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม ผู้ให้บริการต้องจัดให้มีผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันที่มีทางเลือกให้ลูกค้าสามารถเลือกช่วงเวลาในการเบิกใช้สินเชื่อได้ตามความประสงค์และต้องเสนอขายผลิตภัณฑ์สินเชื่อนั้นให้เป็นทางเลือกไปพร้อมกัน รวมถึงต้องให้ข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ลูกค้าเปรียบเทียบทางเลือกดังกล่าวได้ กรณีที่สถาบันการเงินผู้ให้บริการใช้สิทธิตามกฎหมายในการหักเงินในบัญชีเงินฝากเพื่อนำมาชำระหนี้กรณีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ไว้ ผู้ให้บริการต้องเหลือเงินในบัญชีเงินฝากเพียงพอให้ลูกหนี้ดำรงชีพ ยกเว้นกรณีที่ผู้ให้บริการมีบัญชีเงินฝากของลูกหนี้เป็นหลักประกัน หรือลูกหนี้แจ้งความประสงค์หักบัญชีอัตโนมัติเมื่อครบกำหนดชำระสินเชื่อ   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

ราชกิจจาฯ ประกาศ ’การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม’ เริ่ม 1 ม.ค.67

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) โดยเหตุผลในการออกประกาศหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามลำดับจากเดิมอยู่ที่ 76% ต่อ GDP ในปี 2555 มาอยู่ที่ 89% ต่อ GDP ในปี ๒๕๖๒ และถูกซ้ำเติมรุนแรงขึ้นในช่วงโควิด 19 ที่ 95% ต่อ GDP ในปี 2564 แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะเริ่มทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ 91% ณ ไตรมาส 2 ปี 2566 ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและสินเชื่อที่ขยายตัวชะลอลงหลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือ แต่สัดส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูง ธปท.ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาหนี้ครัวเรือนว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อควบคุมระดับหนี้ครัวเรือนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนต้องใช้เวลาและทำอย่างครบวงจรให้เหมาะสมกับลักษณะและสาเหตุของปัญหาในแต่ละช่วงของการเป็นหนี้และทำอย่างถูกหลักการคือแก้ให้ตรงจุดไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ และไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และภาครัฐ ธปท. จึงได้ออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม(Responsible Lending)เพื่อยกระดับการปฏิบัติตามหนังสือเวียน เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม ให้มีความครอบคลุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยใช้เป็นหลักเกณฑ์เพิ่มเติมจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรการเป็นหนี้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การพัฒนาและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ […]

สศช. เผยหนี้ครัวเรือนชะลอลง จับตาสินเชื่อรถยนต์เป็นพิเศษ ค้างชำระสูง

สศช. เผย หนี้ครัวเรือน ชะลอตัวลง พร้อมจับตาสินเชื่อรถยนต์เป็นพิเศษ หลังพบค้างชำระสูง เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมประจำไตรมาส 1 ปี 2565 ว่า หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2564 มีมูลค่า 14.58 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% ชะลอลงจาก 4.2% ของไตรมาสที่ผ่านมา โดยคิดเป็นสัดส่วน 90.1% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) โดยสินเชื่อที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ได้แก่ สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขยายตัว 5.0% ลดลงจาก 5.8% ของไตรมาสก่อน และสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ ขยายตัว 6.5% ลดลงจาก 7.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินเชื่อเพื่อยานยนต์ ขยายตัว 1.2% ลดลงจาก […]

error: