“บรูซ วิลลิส” ป่วยสมองเสื่อม ไม่มีทางรักษาหาย มีภาวะ “อะเฟเซีย” เสียการสื่อความ

Advertisement บีบีซี รายงานวันที่ 17 ก.พ. ถึงข่าวช็อกวงการบันเทิงฝั่งฮอลลีวูด หลังจากครอบครัวของ บรูซ วิลลิส นักแสดงมากความสามารถวัย 67 ปี ซึ่งรวมถึง เอ็มม่า เฮมิง ภรรยาคนปัจจุบัน พร้อมด้วย เดมี่ มัวร์ นักแสดงหญิงคนดัง อดีตภรรยา ร่วมลงนามระบุในแถลงการณ์ว่า Advertisement วิลลิสได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ “อะเฟเซีย” หรือภาวะเสียการสื่อความ เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทและส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในการสื่อสาร โดยแพทย์พบว่าวิลลิสป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี 2565 แต่เพิ่งบ่งชี้ได้ว่ามีภาวะอะเฟเซียซึ่งครอบครัวรู้สึกโล่งใจเพราะในที่สุดก็สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าป่วยเป็นอะไร และว่าโรคสมองส่วนหน้าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี “ทุกวันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโรค ความเป็นจริงที่เราหวังว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอีกหลายปีข้างหน้า” ครอบครัวระบุ และแสดงความรู้สึกขอบคุณสำหรับความรักที่ทุกคนมอบให้บรูซ วิลลิส เสมอมา Advertisement ทั้งนี้ บรูซ วิลลิส ถือเป็นหนึ่งในพระเอกหนังบู๊ขวัญใจแฟนภาพยนตร์แนวแอคชั่น โดยเฉพาะในยุค 80-90 กับบทบาทดารานำหนังบล็อกบัสเตอร์เรื่องดัง อาทิ Die Hard, Armageddon, Pulp Fiction รวมถึงหนังระทึกในตำนานอย่าง The […]

ทำความรู้จักโรค “อะเฟเซีย” อาการป่วยที่ทำให้ “บรูซ วิลลิซ” ต้องอำลาวงการ

รู้จักโรค อะเฟเซีย อาการป่วยที่ทำให้ บรูซ วิลลิซ ต้องอำลาวงการ กลายเป็นข่าวช็อก! วงการฮอลีวู้ด อีกครั้งในสัปดาห์นี้ หลังจาก เดมี มัวร์ ออกมาประกาศว่า บรูซ วิลลิส นักแสดงชื่อดังจะต้องยุติบทบาทการแสดงลงเนื่องจากป่วยด้วยโรคอะเฟเซีย (aphasia) ที่มีผลทำให้เกิดความผิดปกติในการใช้ภาษา Aphasia คืออะไร ? ข้อมูลจากเว็บไซต์พบแพทย์ เผยว่า Aphasia หรือภาวะบกพร่องทางการสื่อความ เป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร ซึ่งมักเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหายจากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ และอาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย ภาวะดังกล่าวมีอยู่หลายรูปแบบ แต่โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ แบบบกพร่องด้านความเข้าใจ แบบบกพร่องด้านการพูด แบบบกพร่องในการพูดทวนซ้ำ แบบบกพร่องทั้งด้านการพูดและการทำความเข้าใจ ซึ่งในแต่ละรูปแบบจะมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันออกไป นอกจากรักษาที่สาเหตุแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการแก้ไขภาวะนี้ด้วยการบำบัดฟื้นฟู การใช้ภาษาและการสื่อสารร่วมด้วย อาการเป็นอย่างไร ภาวะ Aphasia ในแต่ละบุคคลจะมีอาการที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหายและระดับความรุนแรงของความเสียหายนั้น ภาวะนี้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อการพูด การทำความเข้าใจ การอ่าน การเขียน การสื่อสารและการรับสาร เช่น พูดได้แค่ประโยคสั้น […]

error: