สปส. แจงเรียกคืนเงินเยียวยาโควิด ม.40 เกิดจากการซับซ้อนสิทธิ

Advertisement สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office ระบุ จากกรณีที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเรียกคืนเงินตามโครงการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ผู้ประกันตนมาตรา 40) ในช่วงวิกฤตโควิด Advertisement นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม ขอเรียนชี้แจงว่าการพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุมัติเงินจากรัฐบาล ในส่วนของการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องพิจารณาได้แก่ สถานะความเป็นผู้ประกันตนในช่วงที่มีการอนุมัติโครงการ พื้นที่ที่ประกอบอาชีพหรือพักอาศัยอยู่ในขณะนั้น ต้องอยู่ในพื้นที่สีแดงตามประกาศของรัฐ ซึ่งมีการทยอยประกาศเป็นระลอก รวมทั้งสิ้น 29 จังหวัด การจ่ายเงินสมทบต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ สำนักงานประกันสังคมได้เร่งดำเนินการจ่ายเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกันตน แต่เนื่องจากเงื่อนไขการได้รับสิทธิที่ซับซ้อนดังกล่าว ประกอบกับจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เพิ่มขึ้นจากจำนวน 3.6 ล้านคน เป็น 9.6 ล้านคน และในช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัคร ม.40 รายใหม่รับสิทธิเยียวยาได้ Advertisement จึงจำเป็นต้องใช้ระบบ IT ในการประมวลผลตรวจสอบสิทธิ์ เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้ผู้ประกันตนได้อย่างรวดเร็วบรรเทาความเดือดร้อนได้ทันการณ์ แต่เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ดำเนินการมาจากโครงการเงินกู้ของรัฐบาลดังนั้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเยียวยา จะต้องตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการสอบทานข้อมูลการดำเนินงานโดยละเอียด พบว่าเงื่อนไขการเกิดสิทธิที่ซับซ้อนทำให้มีการจ่ายเงินเกินสิทธิให้กับผู้ประกันตน จึงจำเป็นต้องแจ้งผู้ประกันตนให้ดำเนินการส่งคืนเงินดังกล่าว หากผู้ประกันตนไม่สามารถส่งคืนเงินได้ในคราวเดียวสามารถดำเนินการขอผ่อนชำระเป็นรายงวดได้ โดยขอให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ /จังหวัด/สาขา ที่รับผิดชอบต่อไป […]

เยียวยาลูกจ้างถูกเทเหตุโควิด รับเงินสงเคราะห์เพิ่มถึง28ก.พ.65

‘บิ๊กตู่’ สั่งเยียวยาลูกจ้างถูกเทเหตุโควิด รับเงินสงเคราะห์เพิ่ม! ถึง 28 ก.พ.65 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีการระบาดของโรคโควิด-19 จนเป็นเหตุให้สถานประกอบกิจการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้นายจ้างบางส่วนไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ และมีการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้าง โดยไม่ถูกต้อง รวมถึงมีการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน หามาตรการช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้างกลุ่มนี้ให้ได้รับเงินสงเคราะห์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในอัตราที่เหมาะสม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานประกอบกิจการในวงกว้าง นอกจากนี้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการกระทรวงแรงงานมอบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนำมาพิจารณา ซึ่งได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วย การจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่าย และระยะเวลาการจ่ายกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease (COVID-19)) พ.ศ.2564 โดยปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ ดังนี้ 1.กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ให้ปรับเงินสงเคราะห์จากอัตราเดิม คือ จาก 30 เท่า เป็น 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ […]

กทม.แจ้งยกเลิกข่าวจ่าย “เยียวยา” ผู้ค้ารายย่อย5พันบาท เป็นเรื่องเข้าใจผิด

ถูกเบรก? “กทม.” แจ้งขอยกเลิกข่าวจ่าย “เยียวยา” ผู้ค้า 5 พันบาท กลุ่มนอกประกันสังคม แจงเป็นความเข้าใจผิด จนท.สำนักประชาสัมพันธ์ รอตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง วันที่ 29 มิ.ย. เวลา 21.11 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางจินดารัตน์ ชโยธิน ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) แจ้งข้อความในกลุ่มไลน์สื่อมวลชนประจำ กทม.ขอยกเลิกข่าวเยียวยาผู้ค้ารายย่อยคนละ 5 พันบาทจำนวนเขตละ 200 คน เพื่อเป็นทุนสำรองในการดำรงชีพของประชาชน ตามที่มีสื่อมวลชนหลายแห่งได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น ทั้งนี้ นางจินดารัตน์ ระบุว่า “รบกวนสื่อช่วยลบข่าวนี้ออกจากหน้าเพจของต้นสังกัดด้วยนะคะ เป็นความเข้าใจผิดของจนท.ข่าวของสำนักประชาสัมพันธ์กทม.ซึ่งหากเผยแพร่ออกไปจะสร้างให้เกิดความเข้าใจผิดกับประชาชนอย่างมาก ต้องขออภัยด้วยนะคะ“ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่จากสำนักประชาสัมพันธ์ กทม.ได้ระบุเช่นกันว่า “ขอตรวจสอบความชัดเจน เมื่อมีข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว จะส่งให้ช่วยเผยแพร่ใหม่นะคะ ขออภัยด้วยค่ะ“ ข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

คลังแจง รัฐช่วยคนถือบัตรสวัสดิการต่อเนื่อง ช่วงโควิดเยียวยาคนละ1.1หมื่นบาท

คลัง โต้ข้อวิจารณ์คนมีรายได้น้อยได้รับเงินช่วยเหลือน้อยกว่าคนไม่เดือดร้อน ชี้รัฐช่วยคนถือบัตรสวัสดิการต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี’61 ส่วนช่วงโควิดเยียวยาแล้วกว่า 1.1 หมื่น/คน แจงรัฐออกแบบโครงการมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยประชาชนแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม วันที่ 15 มิถุนายน 2564 นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข้อวิจารณ์มาตรการเยียวยาประชาชนว่าคนที่เดือดร้อนมากหรือคนยากจนได้รับเงินช่วยเหลือน้อยกว่าคนที่เดือดร้อนน้อยหรือคนไม่ยากจนนั้น ขอชี้แจงว่า ที่ผ่านมา การให้สวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งครอบคลุมประชากร จำนวนกว่า 13.65 ล้านคน โดยเริ่มมีการให้สวัสดิการตั้งแต่ปี 2561 ขณะที่ในช่วงโควิดแพร่ระบาดผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับความช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติมจากรัฐ รวมเป็นเงินกว่า 11,600/11,800 บาทต่อคน โดยแบ่งเป็นสวัสดิการหลัก ได้แก่ บรรเทาค่าครองชีพ (วงเงินสิทธิค่าอุปโภค/บริโภค จำนวน 200 บาท/คน จำนวนประมาณ 3.6 ล้านคน และ 300 บาท/คน จำนวนประมาณ 10 ล้านคน) บรรเทาค่าเดินทาง ได้แก่ ค่ารถเมล์ รถไฟฟ้า (500 […]

error: