กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่สับสนแน่นอน

Advertisement 1 เม.ย. นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ ) เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้ง นับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ Advertisement 1.บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหล จะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด 2.บัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อ คือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง […]

กกต.ประกาศ77จังหวัดทั่วไทย มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง52.28ล้านคน

22 มี.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่กกต. กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค.2566 โดยมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 14 พ.ค. แยกรายจังหวัดรวม 77 จังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ​52,287,045 คน โดยจ.กรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 4,469,280 คน รองลงมา จ.นครราชสีมา มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,124,587 คน, อุบลราชธานี 1,477,644 คน, ขอนแก่น 1,453,689 คน และเชียงใหม่ 1,333,088 คน ตามลำดับ   ข่าวจาก : ข่าวสด

โปรดเกล้าฯ แก้ไข พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น ให้ ส.ส.ช่วยผู้สมัครหาเสียงได้แล้ว

19 มีนาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 34 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สำหรับ มาตรา 34 ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 34 ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ อาจช่วยผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งได้ ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ กระทำการใดๆ โดยมิชอบด้วยหน้าที่ และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ยุติ หรือระงับการกระทำนั้นได้ ให้กรรมการการเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำตามวรรคสอง […]

วิษณุเผยไม่เคยเห็นที่ไหนใครทำ หลัง ส.ว.ชงแจกเงิน500 ให้คนไปเลือกตั้ง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่ประชุมวุฒิสภา เห็นชอบ รายงานการศึกษาแนวทางการส่งเสริมและการพัฒนาการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรม ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา พิจารณา โดยในรายงานดังกล่าว มีข้อเสนอเรื่องการให้รัฐจ่ายเงินผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นค่าเดินทางไปเลือกตั้งคนละ 500 บาท ว่า ไม่รู้ ตนไม่ทราบ ขอให้ไปถาม ส.ว. และตนไม่อยากพูด ส่วนแนวคิดดังกล่าวสามารถทำได้หรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่า หากจะทำก็ทำได้ แต่ต้องไปแก้กฎหมายใหญ่โตมโหฬาร เพราะขณะนี้กฎหมายไม่อนุญาต ให้จ่ายเงินสำหรับการเลือกตั้ง แต่รัฐอาจจะจัดให้ได้แต่ต้องแน่ใจว่าต้องเสมอภาค “ถ้าจะทำก็ทำได้ แต่ต้องไปแก้กฎหมายใหญ่โต เพราะขณะนี้กฎหมายไม่ให้มีการจ่ายเงินสำหรับเรื่องนี้ แต่ว่า รัฐอาจจะจัดให้ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าจัดแล้วเสมอภาคกัน” นายวิษณุ กล่าว ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่ทันการเลือกตั้ง ส.ส.ในปีนี้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ส.ว. พูดเพื่อให้ทำ 2-3 ปีข้างหน้า หมายถึงทุกเรื่องที่ ส.ว. เสนอมา เมื่อถามย้ำว่าแล้วมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่า “ไม่เคยเห็นที่ไหนใครทำ” เมื่อถามว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเสนอที่แปลกหรือไม่ นายวิษณุ […]

กทม.เตรียมพร้อม! กกต.รับรองแล้ว33เขตเลือกตั้ง รอ กม.ลูกประกาศใช้

11 มกราคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสำราญ ตันพานิช ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (ผอ.กกต.กทม.) กล่าวถึงความคืบหน้าการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ทั้ง 33 เขตเลือกตั้งของกรุงเทพมหานคร ว่าทาง กกต.กทม. ได้เตรียมความพร้อมโดยแบ่งรูปแบบเขตเลือกตั้งไว้หลายรูปแบบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตั้งแต่ข้อมูลแนวเขตเลือกตั้ง ข้อกฎหมายที่กำหนดจำนวนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 เพื่อให้ กกต.ได้ใช้ดุลพินิจอิสระในการเลือกรูปแบบ เมื่อมีการประกาศจำนวนราษฎรใหม่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ก็จะนำจำนวนราษฎรรายแขวง รายตำบล ดังกล่าวมาพิจารณาว่าเขตเลือกตั้งที่ได้ทำไว้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งเท่าที่ดูเบื้องต้นยังอยู่ในเกณฑ์ และก็ได้เร่งดำเนินการแบ่งเขตอย่างจริงจังแล้ว แต่ยังไม่สามารถประกาศเผยแพร่ได้ ต้องรอร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ประกาศใช้บังคับก่อน เนื่องจากมาตรา 27 ของกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้ กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง แต่เมื่อยังไม่มีกฎหมายรองรับก็ได้แต่เตรียมการไว้ แต่เมื่อกฎหมายประกาศบังคับใช้ ระเบียบที่กำหนดรายละเอียดของการแบ่งเขตซึ่งทราบว่ามีการดำเนินการยกร่างไว้เสร็จแล้ว ก็จะประกาศออกมา และถึงเวลานั้นการแบ่งเขตก็จะปรากฏออกมา คิดว่าไม่นานนี้ นายสำราญกล่าวต่อว่า เมื่อได้รูปแบบที่ชัดเจนไม่น้อยกว่า […]

กกต.ส่งสัญญาณพร้อมจัดเลือกตั้ง ยอมรับยังไม่มีแอพฯอำนวยความสะดวก

2 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ข้อความในกลุ่มไลน์ผู้บริหารของสำนักงาน กกต. เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ 2566 และเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในอนาคต ว่า เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ โดยอวยพรขอให้มีกำลังกายที่แข็งแรง มีกำลังใจที่เข้มแข็ง มีกำลังสติปัญญาที่เฉียบคมในการที่จะนำสิ่งดีๆ มาสู่ท่านและครอบครัว องค์กร และชาติบ้านเมืองโดยรวม จากนี้คงเป็นการนับถอยหลังไปว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองจะมีผลใช้บังคับ จะมีการยุบสภาหรือไม่ ถ้ายุบจะยุบช่วงใหน หรือสภาจะอยู่จนครบวาระ พวกเราจะมีเวลาเตรียมการและทำงานน้อยลงทุกวัน สิ่งที่พวกเราอยากจะเห็นและได้พูดคุยหารือร่วมกันมาตลอด ก่อนหน้านี้หลายครั้ง นายแสวงระบุต่อว่า เรามีเป้าหมายในการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปครั้งต่อไป คือ ทำให้การเลือกตั้งเป็นทางออกของประเทศให้ได้ การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับทั้งกระบวนการและผลการเลือกตั้ง สร้างความเชื่อมั่น และเกียรติภูมิ แก่ กกต.และสำนักงาน โดยองค์ประกอบที่จะทำให้พวกเราบรรลุตามเป้าหมาย ต้องมีเครื่องยนต์ อยู่อย่างน้อย 4 เครื่องยนต์ กล่าวคือ 1.คนดี 2.การบริหารจัดการดี 3.เทคโนโลยีดี และ 4.สื่อสารดี โดยมีความเชื่อมั่นในพวกเราตามข้อ 1 […]

ชัชชาติกำชับ “ผอ.เขตใหม่” ใกล้เลือกตั้งต้องเป็นกลาง เจอซื้อตำแหน่งให้รีบแจ้งตน

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 6 ตุลาคม ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 10/2565 ว่า หนึ่งในเรื่องสำคัญของการประชุมวันนี้ คือการเน้นย้ำบุคลากรและข้าราชการในสังกัด กทม.ให้คำนึงถึงความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เลือกปฏิบัติ เพราะหน้าที่ของ กทม.คือการดูแลประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะข้อครหาที่ว่า กทม.มีการซื้อขายตำแหน่งจากการปรับเปลี่ยนผู้อำนวยการเขตชุดใหม่จำนวน 12 คนที่ผ่านมา ยืนยันว่า ทำไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ การโยกย้ายเป็นเรื่องธรรมดา แต่ขอยืนยันว่าทุกเขตของ กทม.มีความสำคัญเท่ากัน นายชัชชาติกล่าวต่อว่า ตนได้ย้ำกับ ผอ.เขตใหม่ทุกคนว่า อีกประมาณ 6-7 เดือนจะเข้าสู่ช่วงเลือกตั้ง ข้าราชการจำเป็นต้องเน้นความเป็นกลาง เพราะต้องปฏิบัติกับประชาชนทุกคนอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม จะเลือกปฏิบัติหรือไปช่วยพรรคใดพรรคหนึ่งไม่ได้ เพราะความขัดแย้งจะตามมาภายหลัง ขอให้ทุกคนทำหน้าที่เป็นกลาง อย่าฝักใฝ่พรรคการเมือง “เรื่องการแต่งตั้ง ผอ.เขตชุดใหม่ 12 คน จริงๆแล้ววันนี้ได้เน้นย้ำ 2 เรื่องคือ เรื่องแรก ทุกเขตมีความสำคัญเท่ากันหมด ไม่มีเขตเกรด A เกรด […]

ระวังข้อหาลักทรัพย์เก็บป้ายผู้สมัคร อดีตกกต.ชี้ ผู้สมัครเข้าข่ายหรือหรือไม่?

อดีต กกต. แจง ปมป้ายหาเสียงใครเก็บแทนผู้สมัครเจอข้อหาลักทรัพย์ได้ พร้อมนำไปทำประโยชน์ถ้าเจ้าของป้ายไม่ได้สัญญาจะให้ไม่ผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 23 พ.ค. นายสมชัยศรี สุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ว่าด้วย การเก็บป้ายหาเสียง 1. ป้ายหาเสียงเป็นทรัพย์สินของผู้สมัคร ซาเล้ง หรือคนทั่วไปไปเก็บแทน มีข้อหาลักทรัพย์ ยกเว้นเจ้าของป้ายไม่ติดใจเอาความ 2. เป็นหน้าที่ของผู้สมัคร ต้องตามเก็บป้ายของตัวเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการทำสัญญากับร้านที่ติดตั้งว่า รวมค่าจ้างถอดป้ายด้วย 3. หากผู้สมัครไม่เก็บป้าย เจ้าของพื้นที่คือ กทม. หรือเทศบาล หรือหน่วยราชการที่ดูแลในพื้นที่จะเป็นผู้จัดเก็บ เรียกค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บพร้อมดำเนินคดี ตาม กม. รักษาความสะอาด 4. การเอาป้ายไปทำประโยชน์อื่นของประชาชน เช่นทำฝาบ้าน บังแดดร้านขายกล้วยแขก หรือเอาไปตัดเย็บกระเป๋า หากเจ้าของป้ายไม่ได้เป็นการสัญญาว่าจะให้ ก็ไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง   ข่าวจาก : ข่าวสด

อนุทิน สั่งเร่งหารือ กกต.จัดคูหาพิเศษเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ให้คนใช้สิทธิที่ติดโควิด

“อนุทิน” ยันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ติดเชื้อโควิด เผยกรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างหารือ กกต. อาจจัดคูหาพิเศษ ให้ใส่หน้ากาก 2 ชั้น ลั่นบริหารเลือกตั้งแบบปลอดภัยต่อส่วนรวม ไม่ให้เกิดความสูญเสีย ส่วนโรคประจำถิ่นยังไม่กำหนดวันเวลา แต่จะเดินหน้าพร้อมกันทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการบริหารจัดการการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 ว่า กรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างการหารือเร่งด่วนกับ กกต.ในการบริหารจัดการในเขตเลือกตั้ง เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 โดยคำนึงและประเมินถึงความปลอดภัยและไม่ลิดรอนสิทธิ์ เพราะแม้จะป่วยหรือไม่ได้ฉีดวัคซีน เราจะไปตัดสิทธิ์เขาไม่ได้ หากยืนยันจะใช้สิทธิ์ในความเป็นประชาชน เพราะการเลือกตั้งคือสิทธิ์ที่ทุกคนหวงแหน การที่ผู้คนเจ็บป่วยออกมาใช้สิทธิ์ไม่ได้ ถือเป็นการก้าวล่วง ก็ต้องหาวิธีจนได้ที่จะทำให้การบริหารจัดการการเลือกตั้งผ่านไปได้ด้วยดี เพราะเราจะเดินทางไปสู่เป้าหมายโรคประจำถิ่น ซึ่งเราก็เดินมากว่าครึ่งทางแล้ว เราลดมาตรการต่างๆ ลง เช่น การรักษาพยาบาลจากเดิมทุกคนที่ต้องกักตัวไว้ 14 วันก็ลดลง ตอนนี้บางคนรักษาด้วยตัวเอง บางคนไม่ต้องรับประทานยาก็หายเอง จะเหลือเพียงกลุ่มอาการหนัก หรือกลุ่มเสี่ยง 608 […]

ชาวเน็ตแชร์คลิป วีลแชร์ต้องเสี่ยงลงถนนหลบป้ายหาเสียง

ฤดูกาลเลือกตั้ง ป้ายหาเสียงเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งมานาน ซึ่งป้ายหาเสียงเป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างการกีดขวางเส้นทางเดินเท้า และบดบังวิสัยทัศน์ ทั้งคนและรถอยู่ไม่น้อย จนมีการกำหนดเกณฑ์เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ล่าสุด ชาวทวิตเตอร์ได้แชร์คลิปที่ทำให้เห็นว่า ป้ายการหาเสียงที่ติดอย่างไม่ระมัดระวังนั้นสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างมาก โดยคลิปดังกล่าวเกิดขึ้นริมทางเท้าแห่งหนึ่ง ซึ่งมีผู้เข็นรถเข็นวีลแชร์มา แต่ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะป้ายหาเสียงบังทางเดินจนเกือบมิด แม้แต่เดินธรรมดายังยาก จนทำให้ต้องยกรถเข็นลงจากทางเท้า ไปบนถนนซึ่งมีรถวิ่งผ่านไปผ่านมา สร้างความอันตรายให้กับคนเดินเท้าไปอีก จึงมีการเรียกร้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งใส่ใจในเรื่องดังกล่าวให้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตามชาวเน็ตซึ่งได้ชมคลิปได้แสดงความเห็นว่า ป้ายหาเสียงอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา แต่จะเห็นได้ว่าทางเดินนั้นแคบจนวีลแชร์เองก็แทบผ่านไม่ได้ และยังมีเสาไฟบังทาง ซึ่งเกิดจากโครงสร้างของถนนที่ไม่ได้คิดเผื่อคนทุกกลุ่มให้ใช้ร่วมกันได้ ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ได้ยอมรับ ปัญหาป้ายหาเสียงที่ไปกีดขวางทางเท้า ทำให้รถที่สัญจรไปมามองทางลำบาก ได้สั่งแก้ไขไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด เพราะปัญหามาจากการจ้างผู้รับจ้างไปติดป้าย แล้วเกิดติดตั้งในจุดที่ไม่เหมาะสม ยืนยันว่าไม่อยากให้เกิดปัญหาและผลกระทบกับประชาชนในการเดินทาง หากเห็นจุดใดที่เป็นปัญหาให้แจ้งมาได้ พีคสัส #ผู้ว่าอัศวิน #เมษาหน้าหนาว pic.twitter.com/qIVRqJJ0e4 — Pro-freedom .lll. #StandwithUkriane ☮️ (@Bazophil) April 3, 2022   ข่าวจาก : ข่าวสด

1 2 3 4
error: