โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ไม่ทำ รพ.แออัด-พัฒนาระบบปฐมภูมิ

Advertisement โครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” จะทำให้คนไปโรงพยาบาลใหญ่มากขึ้น จนเกิดความแออัด และทำลายระบบสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งตรงข้ามกับเจตนาดั้งเดิมของการก่อตั้งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง 30 บาท Advertisement นี่คือความกังวลส่วนหนึ่งที่นำมาสู่การไม่เห็นด้วยกับโครงการที่เกิดขึ้น ในความคิดของบุคลากรทางการแพทย์จำนวนไม่น้อย นับตั้งแต่แนวคิดนี้ถูกกล่าวถึงในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อต้นเดือนกันยายน 2566 หนึ่งในนั้นคือ ผศ.นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ อาจารย์ภาคเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล (รพ.) รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า นั่นคือความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันในตอนที่รู้ถึงแนวคิดของโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ฯ แต่ขณะเดียวกัน ก็สนใจด้วย เพราะเนื้อในของภารกิจใหญ่ในโครงการ เป็นเรื่องการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง รพ. เพื่อสร้างฐานข้อมูลสุขภาพของคนไทย ซึ่งเป็นภาพที่อยากเห็นมานาน และถ้าทำสำเร็จ จะสร้างคุณูปการต่อระบบบริการสุขภาพอย่างมาก ด้วยเหตุผลหลัก 2 ข้อที่ตรงข้ามกันนี้ จึงทำให้ ผศ.นพ.สัมฤทธิ์ตัดสินใจทำงานวิจัยเรื่อง “โครงการการกำกับ ติดตาม และประเมินนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” พร้อมรับหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ภายหลังได้รับการประสานมาจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ทำการศึกษา […]

error: